การประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดเพื่อตรวจสอบการเข้าเรียน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองน้ำขุ่น อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ การประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดเพื่อตรวจสอบการเข้าเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ชนบท ที่ยังขาดแคลนเทคโนโลยีในการเรียนการสอนและซอฟต์แวร์สำหรับอำนวยความสะดวกในการจัดทำรายงานติดตามผลการปฏิบัติงาน เพื่อเสนอผู้บริหารและผู้ปกครอง จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นในบทความนี้ จึงได้นำเสนอแนวทางในการประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดเพื่อตรวจสอบการเข้าเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองน้ำขุ่น อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อใช้ติดตามผลการเข้าเรียนของนักเรียนซึ่งเป็นการปฏิบัติงานที่สำคัญสำหรับครูประจำชั้น โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อตรวจสอบการเข้าเรียน 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดเพื่อตรวจสอบการเข้าเรียน และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งาน โดยผู้ใช้งาน หมายถึง ผู้ปกครองและครูประจำชั้น โดยงานวิจัยนี้มุ่งเน้นวิธีการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายที่สุดด้วยคิวอาร์โค้ด เพื่อเชื่อมต่อไปยังฐานข้อมูลการตรวจสอบการเข้าเรียน บน Google Form โดยระบบสามารถแสดงผลการรายงานไปยังผู้บริหารและแสดงผลการเข้าเรียนแก่ผู้ปกครอง ผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ และเฟสบุ๊ค Messenger หลังจากพัฒนาระบบเสร็จสิ้นแล้วได้นำไปทดสอบการทำงาน พบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในด้านทำงานของระบบ พบว่า ง่ายต่อการใช้งานและแสดงข้อมูลได้ถูกต้องครบถ้วน และด้านการแสดงผล พบว่า รูปแบบรายงาน ดูง่าย ไม่ซับซ้อนและมีข้อความเพื่อแสดงผลในรายงาน สามารถสื่อความหมายและเข้าใจได้ง่าย อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.61)
Article Details
References
กนิษฐา อินธิชิต, วรปภา อารีราษฎร์ และจรัญ แสนราช (2561,กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบการ
ประยุกต์ใช้กูเกิลแอปพลิเคชัน เพื่อสนับสนุนการแนะแนวการศึกษา สำหรับสถาบันอุดมศึกษา.
วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 84.
ฉริยะ อัครวรรณ, วงศ์นรินทร์ สุขวิชัย และ จีรกาญจน์ เต็มพรสิน. (2564). การพัฒนาระบบบริการเทคโนโลยี
สารสนเทศผ่านคิวอาร์โค้ดและไลน์แอปพลิเคชัน. การประชุมระดับชาติ PULINET 2021 ครั้งที่ 11 วันที่ 6-7
มกราคม 2564 (หน้า 253-262). กรุงเทพฯ: ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค.
ทวีศักดิ์ พุทธรัตน์,และไพฑูรย์ งิ้วทั่ง. (2560). ระบบตรวจเช็คพนักงานรักษาความปลอดภัยด้วย คิวอาร์โค้ด. การ
ประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2,20 มกราคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม มหาสารคาม. 563-571.
ธิติพร ชาญศิริวัฒน์, บัวละพัน สุพันทอง, ชัยวิชิต แก้วกลม และ ศุภาวีร์ มากดี. (2563,มกราคม - เมษายน).
การพัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมการเข้าห้องเรียนด้วยคิวอาร์โค้ด กรณีศึกษาวิทยาลัยครูปากเซ. วารสาร
วิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 15(1). 27-28.
Everett, Gerald D., & McLeod, R., Jr. (2007). Software Testing: Testing Across the Entire
Software Development Life Cycle. United States: Wiley-IEEE Computer Society Press.
I Amirulloh, I d Iskandar, Y Apriyani, A I Warnilah, D S Purnia and M surahman. (2020) Teacher
Attendance Monitoring System Teaching with QR-Coe and Geo Location Using
Android Platform. International Conference on Advanced Information Scientific
Development (ICAISD) 2020 6-7 August 2020, West Java, Indonesia.
Likert, Rensis. (1961). New Pattern of Management. New York : McGraw – Hill.
Marketingoops. (2561). “คิวอาร์โค้ด (QR Code reader).” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก:
https://www.marketingoops.com/news/tech-update/what-is-qr-code/.
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2564.