นวัตกรรมการจัดการโซ่คุณค่าของกลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกข้าวหอมทุ่ง บ้านหัวดอน เพื่อการจัดการในภาวะวิกฤติและรับมือภัยพิบัติ ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก จ.อุบลราชธานี

Main Article Content

พชร วารินสิทธิกุล, อัสนี อำนวย, ณัฐภัค พละพันธุ์, ประภาพร กิติศรีวรพันธุ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นำเสนอผลของการดำเนินงานชุดโครงการวิจัยเรื่อง นวัตกรรมเพื่อการสร้างโซ่คุณค่าใหม่ของวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกข้าวหอมทุ่งบ้านหัวดอน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี สำหรับการจัดการภาวะวิกฤตหลังสถานการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วม และโรคระบาดโควิด19 วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนานวัตกรรมที่ช่วยในการรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมทุ่งให้มีคุณภาพ 2)เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศในการจัดการซัพพลายเชน ที่ส่งเสริมการปลูกข้าวหอมทุ่งที่ปลอดภัยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3)เพื่อสร้างการจัดการองค์ความรู้ด้านการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมให้กับคนในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ที่ส่งผลต่อความยั่งยืนทางอาชีพของกลุ่มเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า แนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นการสร้างรูปแบบการจัดการโซ่คุณค่าใหม่ของวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกข้าวหอมทุ่งบ้านหัวดอน มีดังนี้ 1)ก่อนเกิดภัยพิบัติ พัฒนาระบบสารสนเทศที่ช่วยส่งเสริมการผลิตข้าวปลอดภัย ตลอดทั้งโซ่อุปทานของวิสาหกิจชุมชนข้าวหอมทุ่ง ระบบสารสนเทศนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรในการเก็บข้อมูลการผลิตตามมาตรฐานการผลิตข้าวปลอดภัย (GAP) และมีการจัดการความรู้และอบรมกลุ่มเกษตรกรในการป้องกันและเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติ ในรูปแบบของการจัดทำคู่มือการจัดการในภาวะวิกฤติอย่างมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 2)ระหว่างเกิดภัยพิบัติ พัฒนานวัตกรรมในการรักษาคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมทุ่งด้วยพลังงานทดแทน (ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์) ซึ่งช่วยให้คุณภาพค่าความชื้นเมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 99.28% จากเดิมที่ใช้การตากข้าวแบบภูมิปัญญาชาวบ้านคุณภาพค่าความชื้นเมล็ดพันธุ์ข้าวอยู่ที่ 76.86% ดังนั้น นวัตกรรมนี้ช่วยให้ประสิทธิภาพของการรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มขึ้น 22.42% 3)หลังเกิดภัยพิบัติ การบริหารจัดการผลผลิตในรูปแบบธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยแนวคิดระบบ ERP: Enterprise Resource Planning เกษตรกรทุกคนมีสิทธิและประโยชน์ร่วมกัน มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อกำกับและดูแลควบคุมการดำเนินงานของธนาคารเมล็ดพันธุ์


คำสำคัญ : นวัตกรรมการจัดการโซ่คุณค่า วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกข้าวหอมทุ่งบ้านหัวดอน การจัดการในภาวะวิกฤติ พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก อุบลราชธานี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2561). “สรุปสาระสำคัญโครงการตามนโยบายสำคัญ (Agenda) 15 โครงการ.”

[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.opsmoac.go.th/satun-dwl-files-401291791018 สืบค้น

ธันวาคม 2565.

นภษร สร้อยยอดทอง. (2563, สิงหาคม). “ภัยพิบัติกับการจัดการของเกษตรกรไทย.”Journal of Modern

Learning Development. 5(4) : 173-184.

สาธิต สื่อประเสริฐสุข. (2558). “การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและภัยแล้ง (Water resources management

and drought)”. ศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:

https://dwr.go.th/uploads/file/article/2015/article_th-16082015-104440-394136.pdf

สืบค้น 25 มีนาคม 2566.

Beirman, D. (2011, July). “The Integration of emergency management and tourism.” The

Australian Journal of Emergency Management. 26(3) : 30-34.

Kim, W. C., Mauborgne, R. (2005). Blue Ocean Strategy: How to create uncontested market

space and make the competition irrelevant. Boston Massachusetts: Harvard Business

School Press.

Michel E. P. (2008). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance.

New York: Simon and Schuster.

Pearson, C. M., Clair, J. (1998) “A Reframing crisis management.” Academy of Management

Review. 23 (1) : 59-76.

Runyan, R. C. (2006). “Small business in the face of crisis: Identifying barriers to recovery from a

natural disaster.” Journal of Contingencies and Crisis Management. 14(1) : 12-26.