การศึกษาการแก้ไขพฤติกรรมขับรถจักรยานยนต์ย้อนศรโดยการออกแบบเชิงเรขาคณิต ของถนนและการบังคับใช้กฎหมายด้วยเทคโนโลยีกล้อง AI การศึกษาการแก้ไขพฤติกรรมขับรถจักรยานยนต์ย้อนศรโดยการออกแบบเชิงเรขาคณิต ของถนนและการบังคับใช้กฎหมายด้วยเทคโนโลยีกล้อง AI

Main Article Content

ศิรินภา จันทรโคตร
เจษฎา คำผอง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก พฤติกรรมการขับรถจักรยานยนต์ย้อนศรมักพบเห็นมากตามท้องถนน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยความเสี่ยงที่ก่อให้อุบัติเหตุทางถนน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมเส้นทางการขับขี่รถจักรยานยนต์ และเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ย้อนศรโดยการใช้เทคโนโลยีกล้อง AI และการออกแบบเชิงเรขาคณิตของถนน โดยมีพื้นที่ศึกษาคือจุดตัดทางรถไฟกับถนนศรีจันทร์ในเขตเมืองขอนแก่น เก็บข้อมูลโดยการใช้ภาพถ่ายทางดาวเทียมและข้อมูลภาคสนามจากการลงพื้นที่สำรวจ ข้อมูลวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบทีเทส (t-test) เพื่อนำมาออกแบบการติดตั้งเทคโนโลยีกล้อง AI และออกแบบเชิงเรขาคณิตของถนนโดยการใช้หลักวิศวกรรมการทาง ผลการศึกษาพบว่า จากพฤติกรรมเส้นทางการขับขี่รถจักรยานยนต์ระยะเส้นทางจากภาพถ่ายดาวเทียมทั้งหมด 6 รูปแบบ ระยะเส้นทางถูกกฎจราจรของจุดกลับรถเฉพาะรถจักรยานยนต์มีความแตกต่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) การออกแบบการติดตั้งเทคโนโลยีกล้อง AI ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานการออกแบบและติดตั้งป้ายจราจร และการออกแบบทางเรขาคณิตของจุดกลับรถเฉพาะรถจักรยานยนต์ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยสำหรับขั้นตอนการออกแบบ ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าจุดกลับรถเฉพาะรถจักรยานยนต์และมาตรการการบังคับใช้กฎหมายด้วยเทคโนโลยีกล้อง AI จะช่วยสนับสนุนให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ลดพฤติกรรมการขับขี่ย้อนศร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทางหลวง. (2561). คู่มือมาตรฐานการออกแบบและติดตั้งป้ายจราจร. กรุงเทพฯ:กรมทางหลวง.

กรมทางหลวงชนบท. (2563). คู่มือการตรวจสอบและยกระดับความปลอดภัยงานทางสำหรับกรมทางหลวงชนบท. กรุงเทพฯ:กรมทางหลวงชนบท.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐภณ อัคพิน ธเนศ เสถียรนาม วิชุดา เสถียรนาม เจษฎา คำผองและธันยารัตน์ เสถียรนาม (2564). “การศึกษาที่มีปัจจัยอิทธิพลต่อความตั้งใจขับรถย้อนของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์” วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 21(4) : 83-96.

ณัฐวัตร ราษี ธเนศ เสถียรนาม วิชุดา เสถียรนาม และสิทธา เจนศิริศักดิ์ (2565). “ความเสี่ยงต่อการถูกชนที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ย้อนศรในเมืองขอนแก่น.” วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 22(4) : 185-198.

พสิษฐ์ วงษ์หาบุศย์, รุจชัย อึ้งอารุณยะวี, ธเนศ เสถียรนาม, วาธิส ลีลาภัทร, ปิยณัฐ จันโทสุทธิ์และเจษฎา คำผอง (2562). “การพัฒนาโปรแกรมตรวจจับการฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดงและไม่สวมหมวกนิรภัยด้วยกล้องวงจรปิด.” วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 19(2) : 41-52.

วิชุดา เสถียรนาม. (2558). การออกแบบถนนเชิงเรขาคณิตและความปลอดภัย. ขอนแก่น: ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Kemel E. (2015). “Wrong-way driving crashes on French divided roads.” Accident Analysis Prevention. 75 (2015): 69-76.

Satiennam, T. Akapin, N. Satiennam, W. Kronprasert, N. Kumphong, J. and Ratanavaraha, V. (2023). “Wrong way driving intention and behaviour of young motorcycle riders.” Transportation Research Interdisciplinary Perspectives. 9 : 100827.

Scaramuzza G, Cavegn M. (2007). “Wrong-Way Drivers: Extent – Interventions.” The European Transportation Conference.

World Health Organization [WHO]. (2018). Global Status Report on Road Safety 2018.

Geneva: Switzerland