การศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของชุดไรเดอร์บริการขนส่งอาหารโดยรถจักรยานยนต์ การศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของชุดไรเดอร์บริการขนส่งอาหารโดยรถจักรยานยนต์

Main Article Content

Jetsada Kumphong
ณธายุ ชวพัฒนโยธา
ภานุเทพ จันดา

บทคัดย่อ

พนักงานไรเดอร์บริการขนส่งอาหารโดยรถจักรยานยนต์ของประเทศไทย ส่วนมากประสบปัญหาด้านสุขภาพเกี่ยวกับความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในการขับรถนานๆ และโรคทางผิวหนัง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของเสื้อพนักงานไรเดอร์บริการขนส่งอาหารโดยรถจักรยานยนต์และเพื่อศึกษาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะการทำงานของไรเดอร์บริการขนส่งอาหารโดยรถจักรยานยนต์ มีทดสอบกับเสื้อไรเดอร์ 2 ตัวอย่าง คือ ยี่ห้อเสื้อไรเดอร์พลัสและยี่ห้อเสื้อไรเดอร์ทั่วไป โดยมีการทดสอบความชื้น (Moisture content test) การทดสอบการอิ่มน้ำ (Full water test) และการทดสอบการดูดซับอุณหภูมิ (Temperature test) ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 2 ยี่ห้อเสื้อมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นมีความสัมพันธ์เชิงลบกับเวลาในการอบแห้ง (เสื้อไรเดอร์พลัส r=-0.991; เสื้อไรเดอร์ทั่วไป r=-0.995) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เสื้อไรเดอร์พลัสมีน้ำหนักน้อยกว่าเสื้อไรเดอร์ทั่วไปหลังจากการทดสอบการอิ่มน้ำ และเสื้อไรเดอร์พลัสมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยเท่ากับ 29.49 องศาเซลเซียส เสื้อไรเดอร์ทั่วไปมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยเท่ากับ 29.10 องศาเซลเซียส (ความแตกต่างของอุณหภูมิโดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.39 องศาเซลเซียส ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)) แนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะการทำงานของไรเดอร์บริการขนส่งอาหารโดยรถจักรยานยนต์ ในด้านการลดโอกาสการเกิดโรคทางผิวหนังควรเลือกใช้เลือกไรเดอร์ที่มีการระบายอากาศที่ดี อุ้มน้ำน้อย 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติยา อ่องวุฒิวัฒน์ (2562). “การประเมินค่าการแทรกผ่านไอน้ำของ: ผ้าไหมแพรวาและผ้าโพลีเอสเตอร์

ทอแบบไดมอนด์.” วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 11(3) : 153-164.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงศกร เจริญพงพันธุ์ และ วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ (2564). “การศึกษาความเหมาะสมของห้องพักหลัง

ออกกำลังกายของผู้สูงอายุ.” สาระศาสตร์. 3(2564) : 501-515.

วชิราภรณ์ ไทยประยูร, คทาวุธ ดีปรีชา, สุพิชญา ไทยวัฒน์ และวิโรจน์ เจียมจรัสรังษี (2561). “โรคกลากในทหาร.” เวชสารแพทย์ทหารบก. 71(3) : 207-214.

วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และธานี แก้วธรรมานุกูล (2561). “โรคปัญหาสุขภาพจากการทำงานของพนักงานขับรถโดยสารรับจ้างในจังหวัดเชียงใหม่.” พยาบาลสาร. 45(3) : 122-135.

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน. (2565). การศึกษาสถานการณ์ ปัจจัยและผลกระทบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้ขับรถจักรยานยนต์ส่งอาหาร. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน.

Chen Q. Tang K.P.M. Ma P. Jiang G. and Xu C. (2016). “Thermophysiological comfort properties of polyester weft-knitted fabrics for sports T-shirt.” The Journal of The Textile Institute.

(8) : 1421-1429.

Dai X.Q. Imamuru R. Liu G.L. and Zhou F.P. (2008). “Effect of moisture transport on microclimate under T-shirts.” Eur J Appl Physiol. 104 (2) : 337-340.

Feizizadeh, B., Omrazadeh, D., Ghasemi, M., Bageri, S., Lakes, T., Kitzmann, R., … Blaschke, T. (2023).

“Urban restaurants and online food delivery during the COVID-19 pandemic: a spatial and socio-demographic analysis.” International Journal of Digital Earth. 16(1) : 1725–1751.

Hes L. (2000). “An indirect method for fast evaluation of surface moisture absorptivity of shirt and

underwear fabrics.” Vlákna a textil. 7 (2) : 91-96.

Ho C. Fan J. Newton E. and Au R.(2008). “Effects of Athletic T-shirt Designs on Thermal Comfort.”

Fibers and Polymers. 9 (4) : 503-508.

Lage J. Catarino A. Carvalho H. and Rocha A.(2015). “Smart shirt with embedded vital sign and moisture sensing.” SPWID 2015 : The First International Conference on Smart Portable, Wearable, Implantable and Disability-oriented Devices and Systems.

Navarrete-Hernandez, P., Rennert, L., & Balducci, A. (2023). “An evaluation of the impact of COVID-19 safety measures in public transit spaces on riders’ Worry of virus contraction.”

Transport Policy. 131 : 1–12.

Öner E. and Okur A. (2014). “Thermophysiological comfort properties of selected knitted fabrics and design of T-shirts.” The Journal of The Textile Institute. 106 (12) : 1403-1414

Sousa J.D. Cheatham C. and Wittbrodt M. (2014). “The effects of a moisture-wicking fabric shirt on the physiological and perceptual responses during acute exercise in the heat.” Applied Ergonomics. 45 (6) : 1447-1453.

Tran, N. A. T., Nguyen, H. L. A., Nguyen, T. B. H., Nguyen, Q. H., Huynh, T. N. L., Pojani, D., … Nguyen, M. H. (2022). “Health and safety risks faced by delivery riders during the Covid-19 pandemic”. Journal of Transport and Health. 25.

World Health Organization [WHO]. (2018). Global Status Report on Road Safety 2018.

Geneva: Switzerland

Woods R.I. (1985). “The relation between clothing thickness and cooling during motorcycling.” Ergonomics. 29 (3) : 455-462.