การพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสมือนรูปแบบสามมิติ เรื่อง กิ่งก้านแห่งโพธิญาณสายธารแห่งธรรม กรณีศึกษา ต้นไม้คำสอนของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)ผ่านแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนและสื่อสิ่งพิมพ์โปสเตอร์

Main Article Content

ยุทธศักดิ์ ทองแสน

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาโมเดล 3 มิติ พระโพธิญาณเถร  (ชา สุภทฺโท) สำหรับใช้ในการพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสมือน 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสมือนรูปแบบสามมิติ เรื่อง กิ่งก้านแห่งโพธิญาณ สายธารแห่งธรรม กรณีศึกษา ต้นไม้คำสอนของพระโพธิญาณเถร  (ชา สุภทฺโท)  ผ่านแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนและสื่อสิ่งพิมพ์โปสเตอร์  3) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างหลังใช้งาน นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสมือนรูปแบบสามมิติ เรื่อง กิ่งก้านแห่งโพธิญาณ สายธารแห่งธรรม กรณีศึกษา ต้นไม้คำสอนของพระโพธิญาณเถร  (ชา สุภทฺโท)  ผ่านแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนและสื่อสิ่งพิมพ์โปสเตอร์  ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการประเมินผลของระบบ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งแบบสอบถามมี 2 แบบ ประกอบด้วย แบบประเมินประสิทธิภาพสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน และแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับกลุ่มผู้ใช้งาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสมือนรูปแบบสามมิติ เรื่อง กิ่งก้านแห่งโพธิญาณ สายธารแห่งธรรม กรณีศึกษา ต้นไม้คำสอนของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)  ผ่านแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนและสื่อสิ่งพิมพ์โปสเตอร์ โดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก  มีค่าเฉลี่ย  4.26 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57 และประเมินความพึงพอใจสำหรับกลุ่มผู้ใช้งาน พบว่าอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย  4.37 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งกาญจน์ ทองงอก. (2565). “การใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันออคเมนเต็ดเรียลลิตี้

ส่งเสริมอาหารเพื่อสุขภาพ”. วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 7 (2) : 14-20.

จรินทร อุ่มไกร และ ไกยสิทธิ์ อภิระ. (2562). “การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในรายวิชาการออกแบบและพัฒนาสื่อดิจิทัล”.

วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 5(2) : 18-27.

จิราภรณ์ ปกรณ์ . (2561). ความจริงเสริม (Augmented Reality) เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลก

แห่งความจริง. คลังความรู้ SciMath สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)กระทรวงศึกษาธิการ.

ชัยอนันต์ สาขะจันทร์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบร่วมมือโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

ความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและความคงทนทางการเรียน สำหรับนักศึกษา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต.สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ณัฏฐ์ ดิษเจริญ กรวัฒน์ พลเยี่ยม พนิดา วังคะฮาต และปุรมิ จารุจำรัส. (2557) . “การพัฒนาสื่อการเรียนรู้

เรื่อง โครงสร้างอะตอมและพันธะเคมีด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ดเรียลลิตี้”. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์

เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 5(1) : 21-27.

ดนัยพร ลดากุล และ ปุญญรัตน์ ปุญญา. (2561). “การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติเพื่อส่งเสริมคุณธรรม

ด้านความซื่อสัตย์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2”. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์.

(1) : 64–71.

นิภัทร์ ปัญญวานันท์. (2563). “การออกแบบโมเดลตัวละครและการสร้างสรรค์งานแอนิเมชัน 3 มิติ”.

วารสารนักบริหาร. 39(1) : 67-81.

ปุญญรัตน์ รังสูงเนิน และ สิริกานต์ ไชยสิทธิ์.(2565). “การออกแบบและพัฒนารูปทรง สามมิติแนวจินตนิมิต

สำหรับศึกษาองค์ประกอบเมืองเก่านครราชสีมา”. วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

(1) : 144-168.

พนิดา ตันศิริ (2553). “โลกเสมือนผสานโลกจริง = Augmented reality”. วารสารนักบริหาร. 30(2) : 169-175.

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2556). พลิกบทบาท 3D สู่โลกความจริงเสมือน (Augmented Reality).

เอกสารประกอบการบรรยาย. นครปฐม : ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2565). “การสุ่มตัวอย่าง [Chapter 6 Random Sampling”. [ออนไลน์].

เข้าถึงได้จาก : http://www.udru.ac.th/oldsite/attachments/eleความจริงเสริมning/01/07.pdf. สืบค้น 1 กันยายน 2565.

Simamora, P. R., and Zega, S. A. (December 2019). “Perancangan.3D Modeling Dan VFX Water Simulation Dalam Animasi 3D Berjudul ‘Blue & Flash”. Journal of Applied Multimedia

and Networking (JAMN). 3(2) : 53 - 57.