การวิเคราะห์สาเหตุการวิบัติเชิงลาดด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ และแนวทางการปรับปรุงแก้ไข กรณีศึกษา ทางหลวงหมายเลข211 ตอนปากชม-เชียงคาน ที่ กม.153- กม.155 (บ้านหาดเบี้ย – คกไผ่ )
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสาเหตุของการวิบัติเชิงลาดของถนนทางหลวงหมายเลข211 ตอนปากชม-เชียงคาน ที่ กม.153- กม.155 (บ้านหาดเบี้ย-คกไผ่) ด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ (Finite Element Method) โดยใช้โปรแกรม Plaxis 2D พบว่าเมื่อน้ำไหลลงสู่เชิงลาด เกิดกระบวนการกัดเซาะบริเวณ Toe slope ลุกลาม เข้าสู่โครงสร้างชั้นดินจุดที่ 2 บริเวณ Fill Slope และจุดที่ 3 บริเวณ Back Slope การแก้ไขใช้วิธีการเสริมกำลังด้วย กล่องลวดตาข่ายแมทเทรส (Gabion and Mattress) ผลการวิเคราะห์เสถียรภาพของเชิงลาดด้วยโปรแกรม Plaxis- 2D ได้ค่าอัตราส่วนความปลอดภัยเท่ากับ 1.66 สูงกว่าทีกำหนดไว้ (Navfac Dm 7.01, 1986) ส่วนวิธีการป้องกันการกัดเซาะ (Erosion Control ) เลือกใช้วัสดุแผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile ) เพื่อเพิ่มความมั่นคงและลดความเสี่ยงต่อการกัดเซาะ ของเชิงลาด นอกจากนี้สามารถก่อสร้างได้ง่ายและรวดเร็ว รวมทั้งการขนส่งเข้าถึงสถานที่ก่อสร้างได้ง่าย
Article Details
References
กฤษณะ มีลักษณะสม และ พงศกร พวงชมภู. (2566). “การวิเคราะห์สาเหตุการวิบัติเชิงลาดด้วยวิธีสมดุลจำกัด
และวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์และแนวทางการปรับปรุงแก้ไข กรณีศึกษา ทางหลวง 2159 ตอนชัยภูมิ-ห้วยยางดำ
ที่ กม.27+700”. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสหากรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ .8(1) : 112–124.
ชินนพัทธ์ มูลทาทอง และ พงศกร พวงชมภู. (2560). “การศึกษาปัญหาเสถียรภาพของลาดดินคันทาง ในทางหลวง
หมายเลข 1349 ตอน สะเมิง – วัดจันทร์”. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 22.
นครราชสีมา
ยศวัศ จันทรา และ พงศกร พวงชมภู. (2565). “การศึกษาปัญหาเสถียรภาพเชิงลาดดินคันทางด้วยวิธีสมดุลจำกัด และวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์กรณีศึกษาทางหลวงหมายเลข 1270 ตอน กองลอย-แม่แฮใต้ ที่ กม.26+200 –
กม.26+450”. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา).22(1) : 38-50.
สุประชา คามะนาและ พงศกร พวงชมภู. (2565). “การวิเคราะห์สาเหตุการวิบัติของเชิงลาดด้วยวิธีสมดุลจำกัดและ วิธีไฟไนต์อิลิเมนต์และแนวทางการปรับปรุงการแก้ไข : กรณีศึกษา ทางหลวงหมายเลข 1270 ตอน
กองลอย – แม่แฮใต้ ที่ กม.21+000”. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา).22(1) :13-25.
สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. (2566). การประเมิณและจัดการดินถล่มในพื้นที่ภูเขา. กรุงเทพมหานคร :
บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
กรมทางหลวง. (2561). มาตรฐานการป้องกันการวิบัติเชิงลาดและการกัดเซาะกรมทางหลวง. กระทรวงคมนาคม.
กรมทางหลวง. (2551). คู่มือการบำรุงรักษาทางหลวงเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายและการเคลื่อนตัว
ของเชิงลาด. กระทรวงคมนาคม.
ASTM D422. (2007). Standard test method for particle-size analysis of soils. In Annual Book of ASTMStandards.04.08. Philadelphia: American Society for Testing and Materials, USA.
ASTM D 698. (2007). Standard Test Method for Laboratory Compaction Characteristics of Soil Using Standard Effort. USA.
ASTM D 4318. (2010). Standard Test Methods for Liquid Limit, Plastic Limit, and Plasticity
index of Soils. In Annual Book of ASTM Standards. 04.08. Philadelphia: American Society
for Testing and Materials, USA.
ASTM D 3080. (2014) Standard test method for direct shear test of soils under consolidated
Drained conditions. In Annual Book of ASTM Standards. 04.08. Philadelphia: American
Society for Testing and Materials, USA.
Bhawani S. (1999). Rock mass classification University of Roorkee, Roorkee. India.
Voottipruex P., Maneejaruan J., Inthapichai S., Teerawattanasuk C., Modmoltin C. (2013).
“The Prevention of soil Erosion Using a Combination of Natural Fiber with Vetiver and Ruzi Grass”. The Journal of KMUTNB .(23)2 : 295 – 304.