ความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในบุคลากรที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ในสำนักงานของวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในบุคลากรที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ในสำนักงานของวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงทพมหานคร จำนวน 30 ตัวอย่าง ที่ใช้เวลาปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์เฉลี่ยมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป การใช้คอมพิวเตอร์ ระดับความเจ็บปวดกล้ามเนื้อกล้าม และประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดยใช้แบบประเมินมาตรฐาน Rapid Office Strain Assessment (ROSA) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 83.33) มีอายุงานในองค์กร เฉลี่ย 10 ปี (S.D. = 5) มีการใช้คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์พกพา คอมพิวเตอร์พกพาขนาดกลาง หรือสมาร์ทโฟน) ในเวลางานมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 80.00) เฉลี่ย 6 ชั่วโมงต่อวัน (S.D. = 1) มีท่าทางและสภาพแวดล้อมการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ ได้แก่ พนักพิงไม่สามารถปรับได้ (ร้อยละ 100.00) ที่พักแขนปรับระดับไม่ได้ (ร้อยละ 100.00) เบาะนั่งปรับระยะไม่ได้ (ร้อยละ 96.67) ที่วางแป้นพิมพ์ปรับระดับไม่ได้ (ร้อยละ 93.33) แป้นพิมพ์อยู่ในระดับไม่เหมาะสมทำให้ไหล่ยกขึ้น (ร้อยละ 83.33) ไม่มีที่รองข้อมือหรือที่รองข้อมือมีพื้นผิวแข็งหรือมีจุดกดทับในขณะใช้งานเมาส์ (ร้อยละ 73.33) เก้าอี้ปรับระดับไม่ได้ (ร้อยละ 60.00) จอภาพต่ำเกินไป (ร้อยละ 56.67) และมีลักษณะไหล่ยกขณะนั่งทำงาน (ร้อยละ 96.67) กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 96.67 มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช่น คอ บ่า ไหล่หลัง ขณะนั่งทํางานหรือนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ผลการประเมินระดับความเจ็บปวดกล้ามเนื้อด้วยตนเองมีระดับความเจ็บปวดตั้งแต่ 4 คะแนนขึ้นไป ความชุกสูงสุด คือ ไหล่/บ่า (ร้อยละ 83.33) รองลงมา คือ คอ (ร้อยละ 70.00) และหลังส่วนบน (ร้อยละ 66.67) ผลการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์โดยใช้แบบประเมินมาตรฐาน ROSA พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 50.00 มีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง (ROSA 5 – 7 คะแนน) และร้อยละ 46.67 มีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงมาก (ROSA 8 – 10 คะแนน) เกิดจากท่าทางการนั่งทำงานและอุปกรณ์ในสถานีงานคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสมต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขโดยเร่งด่วนเพื่อลดการบาดเจ็บสะสม ป้องกันการเกิดปัญหาโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ และโรคออฟฟิศซินโดรมต่อไป
Article Details
References
ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ และสกุนตลา แซ่เตียว. (2561, กรกฎาคม – ธันวาคม). “พฤติกรรมการป้องกันและการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของบุคลากรสายสนับสนุน”. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 19(3) : 69 – 83
ทิวาพร โชติจำลอง และรชานนท์ ง่วนใจรัก. (2562, มิถุนายน – กันยายน). “ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามหลักการยศาตร์ในการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาล”. วารสารวิชาการ สคร. 9. 25(3) : 5 – 14
ระวีพรรณ สุนันต๊ะ น้ำเงิน จันทรมณี และทวีวรรณ ศรีสุขคำ. (2565, กรกฎาคม – ธันวาคม). “ปัจจัยทำนายที่ส่งผลต่ออาการปวดเมื้อยกล้ามเนื้อจากการทำงานด้านคอมพิวเตอร์ของบุคคลากร มหาวิทยาละยพะเยา”. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี. 20(2) : 56 – 72
โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณ. (2564). “ออฟฟิศซินโดรม ดูแล ป้องกัน รักษาอย่างไร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/office-syndrome) สืบค้น 1 กันยายน 2565
วิภาดา คงทรง วรพจน์ พรหมสัตพรต และนภชา สิงห์วีรธรรม. (2564, ตุลาคม – ธันวาคม). “การปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ในบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม”. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 7(4) : 167 – 180
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). “การมีการใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries22.html สืบค้น 1 กันยายน 2565.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). “การใช้ ICT ของประชาชนในประเทศไทย ปี 2565 (ไตรมาส 1)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.nso.go.th/sites/2014/Lists/Infographic/Attachments/147/info_ict
_65.pdf) สืบค้น 1 ตุลาคม 2565
สำนักงานสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง กรมอนามัย. (2558). “ข่าวแจก กรมอนามัยเผยวัยทำงาน ร้อยละ 60 เสี่ยงโรคออฟฟิศซินโดรม แนะปรับสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงานให้ถูกหลัก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://203.157.65.15/anamai_web/ewt_news.php) สืบค้น 1 กันยายน 2565
อนุกูล เมฆสุทัศน์. (2562). “สรีรวิทยากับออฟฟิศซินโดรม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.ay-sci.go.th/aynew/20190630-6/ สืบค้น 1 กันยายน 2565
อรัญญา นัยเนตร์. (2563, กรกฎาคม – ธันวาคม). “ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวดคอบ่าไหล่ในบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์”. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 16(2) : 61 – 74
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, AG. et al. (2007, May). “G*Power 3: A Flexible Statistical Power Analysis Program for the Social, Behavioral, and Biomedical Sciences”. Behavior Research Methods. 39(2) : 175 – 91
Melzack, R. & Katz, J. (2006). Pain Assessment in Adult Patients. In McMahon S.B. & Koltzenburg M. (Eds). Wall and Melzack’s Textbook of Pain. 5th ed. Philadelphia : Elsevier Churchill Livingstone.
Sonne, M. & Andrews, D.M. (2012, September). “The Rapid Office Strain Assessment (ROSA): Validity of online worker self-assessment and the relationship to worker discomfort”. Occupational Ergonomics. 10(4) : 83 – 101
Sonne, M., Villalta, DL. & Andrews, D.M. (2012, January). “Development and Evaluation of an Office Ergonomic Risk Checklist: ROSA–Rapid Office Strain Assessment”. Applied Ergonomics. 43(1) : 98 – 108