การสร้างและทดสอบประสิทธิภาพเครื่องสับฟางข้าว

Main Article Content

อธิรัช ลี้ตระกูล
จีระศักดิ์ พิศเพ็ง
วิชัย แหวนเพชร
อัษฎา วรรณกายนต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้าง 2) ทดสอบประสิทธิภาพ และ 3) ประเมินคุณภาพเครื่องสับฟางข้าว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องสับฟางข้าว, ตารางทดสอบประสิทธิภาพและ            แบบประเมินคุณภาพ ผู้วิจัยได้ดำเนินการออกแบบและสร้างเครื่องสับฟางข้าวให้มีอัตราการสับที่ทำให้ฟางข้าวมีขนาดเล็กลงจากนั้นนำไปทดสอบประสิทธิภาพและประเมินคุณภาพเครื่องจากผู้เชี่ยวชาญ     สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่บงเบนมาตรฐาน


         ผลการวิจัย 1) ได้เครื่องจักรกลเกษตรที่มีความสามารถในการทุ่นแรงและเพิ่มความสะดวกสบายให้กับเกษตรกรโดยสามารถดำเนินการสับฟางข้าวให้มีขนาดเล็กลง เพื่อนำไปใช้ในการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การผลิตปุ๋ยอินทรีย์หรือการเลี้ยงสัตว์ เครื่องสับฟางข้าวมีขนาดกว้าง 70 ซม. X ยาว 130 ซม. X สูง 150 ซม. ประกอบไปด้วย โครงสร้างเครื่อง, ชุดการป้อนวัสดุ, ระบบส่งกำลังด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 3 เฟส ขนาด 3 แรงม้า, ชุดควบคุมการทำงานเพื่อความปลอดภัย, ชุดใบมีดสับ มีคมตัดเป็นเล่มตรงแบนขนาดกว้าง 2 ซม. X ยาว 10 ซม. X หนา 4 มม. จำนวน 3 ชุด ๆ ละ 3 ใบ มีลักษณะติดอยู่กับเพลากลมทำมุม 120 องศา สามารถหมุนตัดด้วยความเร็วไม่น้อยกว่า 1,380 ถึง 1,400 รอบต่อนาที ตะแกรงร่อนมีความละเอียดขนาด 2 มม. สามารถทำงานได้ในช่วงเวลา 8-12 ชั่วโมงต่อวัน และสามารถทำให้ขนาดของฟางข้าวที่สับเล็กลงได้ในช่วง 1.5-2.0 มม. 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องสับฟางข้าว ทดสอบสับฟางข้าวที่น้ำหนัก 8 กิโลกรัม จำนวน 5 ครั้ง น้ำหนักฟางข้าวหลังสับ มีค่าเฉลี่ย 7.57 กก. น้ำหนักที่สูญเสียไป มีค่าเฉลี่ย 0.43 กก. ใช้เวลาในการสับฟางข้าว มีค่าเฉลี่ย 27.82 นาที และ ประสิทธิภาพเครื่องสับฟางข้าว มีค่าเฉลี่ย 94.58% และ 3) ผลการประเมินคุณภาพเครื่องสับฟางข้าว พบว่า จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.70, S.D. = 0.45)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองศึกษาและขยายผลการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ. (2562). องค์ความรู้ข้าว : ข้าวของคนพอเพียง.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : กรุงเทพฯ.

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร. (2562). ข้าวไทย. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก :

https://www.royalrain.go.th/royalrain/ShowDetail.aspx?DetailId=11891

สืบค้น 9 กุมภาพันธ์ 2567.

ณรกมล เลาห์รอดพันธ์ และคณะ. (2562, มกราคม-มิถุนายน). การเปรียบเทียบวิธีการปรับสภาพฟางข้าวปรุงแต่งด้วยยูเรีย

ที่แตกต่างกันต่อองค์ประกอบทางเคมีและการย่อยสลายในหลอดทดลอง. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และ

วิทยาศาสตร์ประยุกต์. ปี 2562(1) : 83-92.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13.

บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี : กรุงเทพฯ.

ปัณณวิชญ์ ทองคํา จตุรงค์ ลังกาพินธุ์ รุ่งเรือง กาลศิริศิลป์ และสุนัน ปานสาคร. (2565, พฤษภาคม –กันยายน).

การออกแบบและสร้างเครื่องตัดฟางข้าว. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

(2) : 31-41.

พชรพฤก เทวาประสาทพร เมธาวี ลอยหา และสักจพัฒธ์ ผิวอ่อนดี. (2564). การพัฒนาชุดสับฟางสำหรับติดรถเกี่ยว

นวดข้าว (ระยะที่ 2). ปริญญานิพนธ์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย). (2561). ฟางข้าว(RICE STRAW) และประโยชน์จากฟางข้าว.

[ออนไลน์] เข้าถึงไดจาก : http://www.aecth.org/Article/Detail/116351 สืบค้น 9 กุมภาพันธ์ 2567.

วรางรัตน์ เสนาสิงห์. (2562). วัฒนธรรมการใช้เครื่องทุ่นแรงทางการเกษตร. [ออนไลน์] เข้าถึงไดจาก :

https://www.scimath.org/article-science/item/10613-2019-09-02-01-27-39

สืบค้น 9 กุมภาพันธ์ 2567.

สาขาการออกแบบและเทคโนโลยี. (2567). กระบวนการเทคโนโลยี. [ออนไลน์] เข้าถึงไดจาก :

http://designtechnology.ipst.ac.th/?page_id=165 สืบค้น 9 กุมภาพันธ์ 2567.

สำนักพัฒนาอาหารสัตว์. (2560). วัตถุดิบอาหารสัตว์ : ฟางข้าว. [ออนไลน์] เข้าถึงไดจาก :

https://nutrition.dld.go.th/nutrition/index.php/the-joomla-project/972-rice-straw

สืบค้น 9 กุมภาพันธ์ 2567.

สุมาลี จันทร์ชะลอ. (2542). การวัดและประเมินผล. ศูนย์สื่อส่งเสริมกรุงเทพ. : กรุงเทพฯ.

อธิรัช ลี้ตระกูล จีระศักดิ์ พิศเพ็ง วิชัย แหวนเพชร และอัษฎา วรรณกายนต์. (2566, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาเครื่องแยกของเหลว ออกจากมูลโค. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 8(2) : 49-62.

Yu, L., Bule, M., Ma, J., Zhao, Q., Frear, C., and Chen, S. (2014). Enhancing volatile fatty Acid (VFA) and

bio-methand production from lawn grass with pretreatment. Bioresoource Technology.

Vol.162 p.243-249.