การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดของกาเย่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้รายวิชาการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์สำหรับนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

Main Article Content

ปริษา ปั้นดี
ณัฏฐ์ ดิษเจริญ
บุณณดา คำเสียง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดของกาเย่และศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ 2) การออกแบบ 3) การพัฒนา 4) การนำไปใช้ และ 5) การประเมินผล โดยทดลองใช้กับนักศึกษาจำนวน 40 คนที่ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนที่พัฒนาขึ้น และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของบทเรียน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า บทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของกาเย่ มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 88.94/89.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และนักศึกษามีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยาณี รจิตรังสรรค์. (2557). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้บนสื่อออนไลน์ edmodo

รายวิชาคอมพิวเตอร์ 3 ง23103 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. โรงเรียนจ่านกร้อง สำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39.

กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2564). “การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ในวิถี New Normal”.

วารสารครุศาสตร์สารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 15(1) : 29-43.

ณัฐกร สงคราม. (2554). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี แย้มกสิกร. (2551). “เกณฑ์ประสิทธิภาพในงานวิจัยและพัฒนาสื่อการสอน : ความแตกต่าง 90/90 standard และ E1/E2”. วารสารศึกษาศาสตร์. 19(1) : 1-16.

มิสปิยะฉัตร์ จันทร์สุวรรณ. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Edmodo

โดยเชื่อมโยงกับ Quest base หน่วยการเรียนรู้เรื่อง Language ของนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.

วิทยานิพนธ์.

ศักดิ์คเรศ ประกอบผล. (2564). “การเข้าใจดิจิทัลกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์”. วารสาร

ครุศาสตร์สารมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 15(1) : 1-12.

อมรรัตน์ แซ่กวั่ง. (2559) การจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสุราษฏร์ธานี. 8 (1) : 251-274.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2563). “หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช

สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://bsq.vec.go.th .

สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2566.