การวางแผนการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมแผงวงจรรวมโดยประยุกต์ใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์

Main Article Content

ภัทร ลีลาพฤทธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและวิเคราะห์โมเดลทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาระบบที่ช่วยสนับสนุนการวางแผนการผลิต โดยประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และเทคนิคการพยากรณ์ยอดการผลิตเพื่อวางแผนการผลิตให้เป็นไปตามเป้าหมายของบริษัท ผลการวิจัยต่อโรงงานผลิตแผงวงจรรวมที่เป็นกรณีศึกษา พบว่าการวิเคราะห์ข้อมูลของยอดการผลิตด้วยโปรแกรมทางสถิติที่ค่าความเชื่อมั่น 95% มีค่าของ P-Value เท่ากับ 0.263 ซึ่งมากกว่า 0.05 จึงถือเป็นการแจกแจงแบบปกติ นอกจากนี้ สำหรับการวางแผนการผลิตต่อไป การพยากรณ์ยอดการผลิตด้วยวิธีการปรับเรียบเอ็กโปแนนเชียลให้ค่าใกล้เคียงกับความต้องการจริงของลูกค้ามากที่สุดและมีเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดต่ำที่สุดที่ 0.05% ดังนั้นแสดงให้เห็นว่าการวางแผนการผลิตสามารถกำหนดเป้าหมายจากวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่รูปแบบการวางแผนการผลิตรวมที่ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ประยูร พรหมสกุล, “วงจรรวมหรือไอซี หนังสือวิทยาศาสตร์ เล่ม 5”, สำนักพิมพ์: Hi-ED; 2555.

[2] วีระพงษ์ เฉลิมจีระรัตน์, “วิธีทางสถิติเพื่อการพัฒนาคุณภาพ”, กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2541.

[3] พิภพ ลลิตาภรณ์, “การวางแผนและควบคุมกำลังการผลิต”, กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2553.

[4] สุทธิมา ชำนาญเวช, “การวิจัยดำเนินงาน”, กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2552.

[5] Hamdy A. Taha. “Operations Research: An introduction. Global Edition, 10th edition”. Pearson; 2016.

[6] วัชรินทร์ เปียสกุล และธนัญญา วสุศรี, “การพยากรณ์และการวางแผนการผลิตรวม: กรณีศึกษาบริษัทผลิตกะทิสด”, การประชุม สัมมนาวิชาการด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ครั้งที่ 7. 321-334, วันที่ 15-16 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ; 2550.

[7] David C. Heath and Peter L. Jackson, “Modeling the Evolution of Demand Forecasts ITH Application to Safety Stock Analysis in Production/Distribution Systems”, IIE Transactions. 26(3), 17-30; 1994.

[8] ณรงค์เดช เดชทวิสุทธิ์, “การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ด้วยวิธีการพยากรณ์ความต้องการ”, วารสาร มฉก.วิชาการ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 15(30): 107-117; 2555.

[9] จุฑามาศ ศุภนคร, “การพยากรณ์อนุกรมเวลาสำหรับการวางแผนการผลิตชิ้นส่วนประกอบผลิตภัณฑ์แบริ่ง”, วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 21(3), 595-606; 2554

[10] คณะวิชาช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์วิทยาลัย เทคนิคสิงห์บุรี, “IC Assembly and Packaging”, เข้าถึงได้จาก: https://sanong2003.tripod.com/ icm1-04.htm/

[11] Minitab Inc., “Minitab - statistical software package.” Available from: https://www.minitab. com/

[12] ลักขณา ฤกษ์เกษม, “การพยากรณ์ความต้องการสินค้าสำหรับการวางแผนการผลิต: กรณีศึกษาการผลิตชุดสะอาด”, วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 28 ฉบับที่ 3 (ฉบับพิเศษ): 291-304; 2558

[13] จักรินทร์ กลั่นเงิน และประภาพรรณ เกษราพงศ์, “การพยากรณ์ปริมาณความต้องการสินค้าเพื่อควบคุมสินค้าคงคลัง: กรณีศึกษา ธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก”, การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2555, 150-154, วันที่ 17-19 ตุลาคม ณ โรงแรมเมธาวลัยชะอำ จังหวัดเพชรบุรี; 2555

[14] กัลยา วานิชย์บัญชา, “การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล”, กรุงเทพฯ: ธรรมสาร; 2546