ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของกลุ่มการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม : การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุแบบพหุระดับและการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค TOWS MATRIX
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของกลุ่มการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์พหุระดับ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเป็นไปตามสมมติฐานและสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ สำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของกลุ่มการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่วิเคราะห์ด้วยเทคนิค TOWS MATRIX ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ 2) การพัฒนาระบบการเรียนการสอน 3) การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและการจัดการเรียนรู้ และ 4) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา ส่วนการประเมินยุทธศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น ในด้านความถูกต้อง ความมีประโยชน์ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] วิทยากร เชียงกูล. สภาวะการศึกษาไทย ปี 2549/2550 การแก้ปัญหาและการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นระบบองค์รวม. กรุงเทพฯ: วี. ที. ซี. คอมมิวนิเคชั่น; 2551.
[3] ธีร์ จินกราน. คุณภาพการศึกษาที่เท่าเทียม: บทบาทสำคัญของการพัฒนาทักษะและนิสัยการอ่านที่ดีในระดับประถมศึกษา. [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก https://www.tkpark.or.th/ stocks/extra/001364.pdf.
[4] อนุสรณ์ ฟูเจริญ. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม. สุพรรณบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1; 2557.
[5] สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2541.
[6] Hsu YC, Shiue YM. The effect of self-directed learning readiness on achievement comparing face-to-face and two-way distance learning instruction. International Journal of Instructional Media 2005;32:143-55.
[7] Joo YJ, Lim KY, Kim SM. A model for predicting learning flow and achievement in corporate e-learning. Journal of Educational Technology & Society 2012;15:313-25.
[8] Pintrich PR, De Groot EV. Motivational and self-regulated Learning components of classroom academic performance. Journal of Educational Psychology [Internet]. 1990 [cited 2014 Jan 3];82:33-40. Available from: https:// rhartshorne.com/fall-2012/eme6507-rh/cdisturco/eme6507-eportfolio/ documents/pintrich%20and%20degroodt%201990.pdf.
[9] สุรศักดิ์ ปาเฮ. ประสิทธิภาพการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม. [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 19 ธันวาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก https://www.addkutec3.com/wp-content/ uploads/2011/11/sattleline.pdf.
[10] ยุทธนา ปฐมวรชาติ. การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม: นวัตกรรมการศึกษาที่สร้างโอกาสและทางเลือกใหม่ในการสร้างสรรค์คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก.วารสาร วิชาการ 2551;11:40-44.
[11] Genesee F, Upshur JA. Classroom-based Evaluation in Second Language Education. New York: Cambridge University Press; 1996.
[12] ปิยวรรณ พันธุ์มงคล. ผลของการใช้โปรแกรมการกำกับตนเองที่มีต่อการมีวินัยในตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต] กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
[13] ศิริกานต์ จันทรศิริ. การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ตามแนวคิดวงจร Deming โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. [งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.
[14] ยอดชาย มานิ่ม, ฐิตินันท์ ด้วงสุวรรณ. แนวทาง การดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนทาง ไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2560]. เข้าถึงได้จาก https://gs. nsru.ac.th/NSRUNC/research/pdf/26.pdf
[15] ทศพร ศิริสัมพันธ์. การวางแผนกลยุทธ์.กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี; 2539.