การปรับปรุงอุณหภูมิภายในห้องอัดอากาศเพื่อลดการใช้พลังงานของระบบอัดอากาศ
คำสำคัญ:
ระบบอัดอากาศ, อุณหภูมิภายในห้องอัดอากาศ, การใช้พลังงานของระบบอัดอากาศบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิภายในห้องอัดอากาศต่อการใช้พลังงานของระบบอัดอากาศ ซึ่งได้ทำการศึกษาโดยใช้ระบบอัดอากาศของบริษัท พานาโซนิค แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จํากัด สาขาขอนแก่น การเก็บข้อมูลจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง โดยช่วงที่หนึ่งเป็นการเก็บข้อมูลก่อนและหลังปรับปรุงเพื่อลดอุณหภูมิ ในการปรับปรุงนั้นได้ทำการเปลี่ยนพัดลมระบายอากาศจากขนาด 1,060 m3/min เป็นขนาด 1,700 m3/min และขนาดท่อสุญญากาศดูดความร้อนให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จากนั้นทำการเก็บข้อมูลที่ได้โดยทำการวัดค่าอุณหภูมิรอบ ๆ เครื่องและภายในห้อง ค่าการใช้พลังงานไฟฟ้า และปริมาณการผลิตอากาศอัดโดยใช้เทอร์โมมิเตอร์ อีซีโอ พาเวอร์มิเตอร์ และ โฟลมิเตอร์ ตามลำดับ จากการเก็บข้อมูลอุณหภูมิเฉลี่ยภายนอกห้องอยู่ที่ 28°C และอุณหภูมิเฉลี่ยภายในห้องลดลงจาก 38°C เป็น 33°C ค่าพลังงานไฟฟ้าจำเพาะในช่วงโหลดลดลงจาก 6.63 kW/m3/min เป็น 6.4 kW/m3/min ปริมาณการใช้พลังงานลดลงจาก 5,846 kWh/day เป็น 5,704 kWh/day และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการเกิด CO2 สามารถลดไปได้ 27 ตัน CO2 ต่อปี ในช่วงที่ 2 และ 3 เป็นการติดตามผลเมื่ออุณหภูมิภายนอกมีการเปลี่ยนแปลง โดยช่วงที่ 2 อุณหภูมิเฉลี่ยภายนอกอยู่ที่ 31°C มีการใช้พลังงาน 5,688 kWh/day และช่วงที่ 3 อุณหภูมิเฉลี่ยภายนอกอยู่ที่ 36°C มีการใช้พลังงาน 5,737 kWh/day จากการศึกษาพบว่าอุณหภูมิภายนอกไม่ได้เป็นผลกระทบโดยตรงที่ทำให้อุณหภูมิภายในห้องอัดอากาศสูงขึ้น แต่มาจากความร้อนที่ถูกปล่อยจากตัวเครื่อง ดังนั้นการลดลงของอุณหภูมิภายในห้องอัดอากาศสามารถลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เป็นต้นทุนในการผลิตลงได้
References
[2] Saidur R, Rahim NA, Hasanuzzaman M. A review on compressed-air energy use and energy savings. Renew Sustain Energ Rev. 2010; 14(4):1135–53.
[3] Zahlan J, Asfour S. A multi-objective approach for determining optimal air compressor location in a manufacturing facility. J Manuf Syst. 2015; 35:176–90.
[4] Yang M. Air compressor efficiency in a Vietnamese enterprise. Energy Policy. 2009; 37(6):2327–37.
[5] Faxsaeng A, Yongchareon W. Energy Management of the compressed air system in glass industry. J South Tech. 2015; 6(1):1-8.
[6] Benedetti M, Bertini I, Bonfa F, et al. Assessing and improving compressed air systems’ energy efficiency in production and use: Findings from an explorative study in large and energy-intensive Industrial firms. Energ procedia. 2017;105:3112–7.
[7] Pannucharoenwong N. Comparison of biomethane gas wobbe index in different animal manure substrate. Energ procedia. 2017; 138:273–77.
[8] Chaichan W, Tongnork S, Ornying P, et al. Study and design vertical axis wind turbine for low wind speed area. UTK Res J. 2017;11(2):17–25.
[9] Samakkurn V, Latae A, Burandej W. Improve air compressors used in automation to reduce in the system. Chonburi. Burapha University. 2011.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร