ผลกระทบของลักษณะของแผ่นกั้นที่มีผลต่อค่าความดันลดและค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเท ความร้อนในระบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดเปลือกและท่อ

Main Article Content

ณัฐดนย์ พรรณุเจริญวงษ์
ณัฏฐา กัลยาประสิทธิ์
พลเทพ เวงสูงเนิน
ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและเปรียบเทียบผลกระทบของลักษณะของแผ่นกั้นต่อค่าความดันลดและสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนที่ติดตั้งในเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดเปลือกและท่อที่นำมาใช้แทนระบบเครื่องควบคุมไอระเหยน้ำมันของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) สำนักงานพระโขนง โดยศึกษาลักษณะของแผ่นกั้นที่ใช้ในการศึกษามี 3 ลักษณะ ได้แก่ แผ่นกั้นแบบ segmental baffle (SB) แผ่นกั้นแบบ double segmental  baffle (DSB) และแผ่นกั้นแบบ helical baffle (HB) โดยงานวิจัยนี้จะใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำลอง และวิเคราะห์ลักษณะการไหล (CFD) เพื่อนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนดังกล่าว จากการวิเคราะห์พบว่า ค่าความดันลดมีค่าเท่ากับ 222.36, 179.32 และ 100.57 Pa ตามลำดับและค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนมีค่าเท่ากับ 13.07, 8.93 และ 14.57 W/m2K ตามลำดับ สรุปได้ว่าเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดเปลือกและท่อที่ใช้แผ่นกั้นแบบ HB มีค่าความดันลดต่ำที่สุดและมีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนในระบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดเปลือกและท่อสูงที่สุดในงานวิจัยนี้และเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเครื่องควบคุมไอระเหยน้ำมันเดิมกับระบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่ใส่แผ่นกั้นแบบ HB พบว่า ระบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนมีค่าประสิทธิผลเพิ่มขึ้นเท่ากับ 72.77%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ทศพล ชาบัวน้อย, ฉัตรชัย เบญจปิยะพร, จุฬาภรณ์ เบญจปิยะพร. การหาแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดในการออกแบบสร้างอุปกรณ์ต้นแบบเพื่อใช้ในการทดแทนระบบเครื่องควบคุมไอระเหยน้ำมันโดยใช้พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณในการวิเคราะห์. ขอนแก่น: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; ม.ป.ป.

[2] Yunus AC. Heat and mass transfer a practical approach. 5th edition: McGraw-Hill; 2015.

[3] เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน. [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค. 2561]. จาก: https://eng.sut.ac.th/me/2014/laboratory/document/HeatExchanger.pdf

[4] Bell KJ. Heat exchanger design for the process industries.transactions of the ASME, Trans. ASME J Heat Tran. 2004; 126 (6):877-885.

[5] Lutcha J, Nemcansky J. Performance improvement of tubular heat exchangers by helical baffles. Chem Eng Res Des. 1990; 68(3):263-270.

[6] Master BI. Heat exchanger. United States: US 6827138 B1, 2004.

[7] Lei YG, He YL,Gao YF. Effects of baffle inclination angle on flow and heat transfer of a heat exchanger with helical baffles. Chem Eng Process.2008; 36(2):2336-2345.

[8] Bichkar P, Dandgaval O, Dalvi P, et al. Study of shell and tube heat exchanger with the effect of types of baffles. Procedia Manufacturing.2018; 20:195-200.

[9] Anas EM. Numerical comparison of shell side performance for shell and tube heat exchangers with trefoil-hole helical and segmental baffles. Appl Therm Eng 2016;109:175.85.

[10] Zena KK, Muna SK, Adel YAH. CFD study for cross flow heat exchanger with integral finned tube. Int J Sci Res Publ. 2016; 6(6):668-77.

[11] Intanon N, yawara P, Suriyapa C, et al. Rolling sliding fatigue of Hard-chrome surface. Journal of rmutk. 2017; 12(1):112–118.