บล็อกปูถนนด้วยวัสดุทดแทนมวลละเอียด

Main Article Content

ณรงค์ เฉลิมวัฒนชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบล็อกปูถนนที่มีความแข็งแรง สามารถรับแรงกดได้และเป็นการนำวัสดุเหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่ โดยการหล่อแบบมอร์ต้า (Morta) ขนาด 5 x 5 x 5 เซนติเมตร ที่ใช้วัสดุทดแทนมวลละเอียดจำนวน 2 ชนิด คือ คอนกรีตมวลเบาบดละเอียดและผงแกรนิต นำมาผสมตามอัตราส่วนที่ออกแบบไว้โดยใช้ปริมาณวัสดุทดแทนมวลละเอียดร้อยละ ±10 จำนวน 9 อัตราส่วน  ใช้ระยะเวลาการบ่มคอนกรีต 7, 14 และ 28 วัน ระยะเวลาละ 30 ก้อน จากการเปรียบเทียบการใช้วัสดุทดแทนมวลละเอียดที่แตกต่างกัน ได้แก่ ทราย คอนกรีตมวลเบาบดละเอียดและผงแกรนิต ที่ขนาดและสภาวะการเตรียมเหมือนกัน พบว่า การใช้ ปูนซีเมนต์ ต่อ ส่วนผสมระหว่างคอนกรีตมวลเบาบดละเอียดกับผงแกรนิต ต่อ น้ำ ที่ส่วนผสมระหว่างคอนกรีตมวลเบาบดละเอียดกับผงแกรนิต เท่ากับ 50 ต่อ 50 ใช้ระยะเวลาในการบ่ม 28 วัน รับกำลังอัดได้ 122.52 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับการนำไปใช้เป็นบล็อกปูถนน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ปิติ สุคนธสุขกุล. คอนกรีต. ปทุมธานี: วรรณกวี; 2556.

[2] อุดมวิทย์ กาญจนวรงค์. ปฏิบัติการทดสอบคอนกรีตเทคโนโลยี. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ: สกายบุ๊กส์; 2543.

[3] พิภพ สุนทรสมัย. วัสดุวิศวกรรมการก่อสร้าง.พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2543.

[4] ประสิทธิ์ แก้วพิชัย สมบูรณ์ เจิมไทย และอนันต์ นนท์ศิริ. การศึกษาเพื่อใช้ทรายแม่น้ำทดแทนออตตาวาในการทดสอบกำลังอัดของมอร์ต้า. กลุ่มทดสอบและวิเคราะห์คุณภาพสำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน; 2549.

[5] วินิต ช่อวิเชียร. คอนกรีตเทคโนโลยี.พิมพ์ครั้งที่ 7. 2559.

[6] ประณต กุลประสูติ. เทคนิคงานปูน-คอนกรีต.พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.

[7] _______. ปฏิบัติการและควบคุมงานคอนกรีต.พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2536.