ความเป็นไปได้ในการผลิตปุ๋ยหมักจากกากกาแฟผสมขี้เค้กจากโรงงานปาล์มน้ำมันในลังโฟม

Main Article Content

วรรณวิภา ไชยชาญ
นิภาพร ชูจำ
เปมิกา ช่วยหมู่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตปุ๋ยหมักจากกากกาแฟผสมขี้เค้กจากโรงงานปาล์ม น้ำมันในลังโฟม เป็นการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของ กากกาแฟและขี้เค้ก, เพื่อศึกษาคุณสมบัติของปุ๋ยหมักที่ได้ งานวิจัยนี้ทำการศึกษาอัตราส่วนของกากกาแฟต่อขี้เค้ก ที่อัตราส่วนแตกต่างกัน คือ 100:0, 50:50 และ 0:100 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักผลการทดลอง พบว่า กากกาแฟและขี้ เค้กมีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยหมักได้ เนื่องจากมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการ เจริญเติบโตของพืชหลงเหลืออยู่ กระบวนการหมักปุ๋ยแบบใช้ออกซิเจนจะเสร็จสมบูรณ์โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 30 วัน ปุ๋ยหมักที่ได้จะมีความชื้น อยู่ในช่วง 4.12-8.96 เปอร์เซ็นต์ ค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 7.08-7.24 และค่าการนำไฟฟ้า อยู่ในช่วง 1.857-3.722 ms/cm ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐาน แต่มีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำกว่า มาตรฐาน ดังนั้น ต้องมีการเพิ่มวัสดุอื่นๆ เป็นวัสดุร่วมเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] นรีรัตน์ ชูวรเวช. เรื่องควรรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์. สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์.กรุงเทพฯ. ม.ป.พ.

[2] นฤภัทร ตั้งมั่นคงวรกูล และ พัชรี ปรีดาสุริยะชัย. การศึกษากากกาแฟและกากชามาใช้ประโยชน์ในรูปเชื้อเพลิงอัดแท่ง.วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 2558;7(13): 15-26.

[3] นันทวัน ฤทธิ์เดช. ข้อควรพิจารณาก่อนทำปุ๋ย ห มัก What Should We Consider Before Making Compost?. วารสาร
วิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. 2556;41(3). 595-606.

[4] นิติ เหมพัฒน์ จรีรัตน์ สกุลรัตน์ และ จรงค์พันธ์ มุสิกะวงศ์ การใช้ลังโฟมในการหมักมูลฝอยอินทรีย์จากบ้านเรือนและใบไม้.
การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 7 (2552), 358-363.

[5] ภัทรวรรณ อาวรณ์ และ อรทัย ชวาลภาฤทธิ์. การใช้ตะกอนชีวภาพจากระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานผลิตโอลิฟินส์เป็นวัสดุผลิตปุ๋ย
หมักร่วม. การประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9. (2555), 16-23.

[6] รัชกร นามกร, สุเทพ ศิลปานันทกุล, พิศิษฐ์ วัฒนสมบูรณ์ และ ธวัช เพชรไทย. การผลิตปุ๋ยหมักจากการกากตะกอนน้ำทิ้งเศษผัก
และกากไขมัน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2558; 3(1): 95-103.

[7] วรรณวิภา ไกรพิทยากร และ เอนก สาวะอินทร์. ความเป็นไปได้ของการผลิตกระถางย่อยสลายได้จากกากกาแฟผสมปูนขาวจากเปลือกหอย. การประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติครั้งที่ 15 (2559), 1-6.

[8] วิษณุพงค์ เกลี้ยงช่วย, ไกรชาติ ตันตระการอาภา, ธนาศรี สีหะบุตร, สุเทพ ศิลปานันทกุล และพิศิษฐ์ วัฒนสมบูรณ์. การผลิตปุ๋ย
หมักร่วมจากเศษอาหารและกากของเสียของโรงงานผลิตสารให้ความหวาน. Environment and Natural Resources Journal. 2009; 7(1): 74-83.

[9] สมศรี อรุณันท์. การปรับปรุงดินเค็มและดินโซติก คู่มือการปรับปรุงดินและการใช้ปุ๋ยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหา
นคร; 2535.

[10] Mussatto, S. I., Carneiro, L. M., Silva, J. P. A., Roberto,I.C., and Teixeira, J.A.. A study on chemical constituents
and sugars extraction from spent coffee grounds. Carbohydrate Polymers. 83 (2011), 368–374.