การพัฒนาวิธีการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานรถยนต์เช่าด้วยเทคนิคการประเมินแบบสองขั้นตอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานรถยนต์เช่าแบบสองขั้นตอน ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงล้อมกรอบข้อมูล กรณีตัวแบบมีปัจจัยไม่พึงประสงค์และการจัดกลุ่มตามลำดับชั้น โดยทดลองใช้งานจริงกับกรณีรถยนต์เช่าของหน่วยงานราชการแห่งหนึ่งจำนวน 104 แห่ง และใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศของหน่วยงานร่วมกับบริษัทที่ให้เช่ารถยนต์ ประกอบด้วย ค่าเช่ารถยนต์ ระยะทางที่ใช้งานทั้งหมด ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เป็นปัจจัยพึงประสงค์ และมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมจากอุบัติเหตุ เป็นปัจจัยไม่พึงประสงค์ โดยนำมาหาค่าคะแนนประสิทธิภาพการใช้งานรถยนต์เช่าด้วยการวิเคราะห์เชิงล้อมกรอบข้อมูล กรณีมีปัจจัยไม่พึงประสงค์ด้วยวิธีผลบวกผกผัน และคัดแยกข้อมูลด้วยการจัดกลุ่มข้อมูลตามลำดับชั้น โดยกำหนดเกณฑ์จากข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าการตัดสินใจจากผู้ประเมิน ผลการวิจัยพบว่าวิธีการประเมินประสิทธิภาพแบบสองขั้นตอน ทำให้สามารถคำนวณและจัดกลุ่มค่าคะแนนประสิทธิภาพการใช้งานรถยนต์เช่าของหน่วยงานราชการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีค่าคะแนนประสิทธิภาพต่ำ (0.0000-0.4447) กลุ่มที่มีค่าคะแนนประสิทธิภาพปานกลาง (0.4608-0.7993) และกลุ่มที่มีค่าคะแนนประสิทธิภาพสูง (0.9475-1.0000) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายเพื่อจัดสรรการใช้งานรถยนต์เช่าให้กับหน่วยตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ากับงบประมาณ
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] Charnes A, Cooper WW,Rhodes E. Measurement the efficiency of decision making units. European Journal of Operational Research. 1978; 2:429-444.
[3] Dalvand B, Lotfi FH, Jahanshahloo GR. Performance assessment of decision making units in different levels using a hierarchical clustering DEA method. Helix. 2017; 8:1451-1455.
[4] Koopmans TC. Activity Analysis of Production and Allocation. New York: Wiley; 1951.
[5] Djordjevic B, Krmac E, Mlinaric TJ. Non-radial DEA model: A new approach to evaluation of safety at railway level crossings. Safety Science. 2018; 103:234-246.
[6] Chen CM. A network-DEA model with new efficiency measure to incorporate the dynamic effect in production networks. Eur J Oper Res. 2009; 194(3):687–699.
[7] Fare R, Grosskopf S, Lindgren B, et al. Productivity developments in Swedish hospitals: A Malmquist output index approach. In: Charnes A, Cooper WW, Lewin A, Seiford L, editors. Data envelopment analysis: theory, methodology and applications. Boston: Kluwer Academic; 1994. P. 253-272.
[8] Bessent AM, Bessent EW. Determining the Comparative Efficiency of Schools Through Data Envelopment Analysis. Educ Admin Q. 1980; 16(2): 57-75.
[9] Banker RD. Studies in Cost Allocation and Efficiency Evaluation [dissertation]. Boston: Graduate School of Business Administration Harvard University; 1980.
[10] Charnes A, Cooper WW. Auditing and Accounting for Program Efficiency and Management Efficiency in Not-For-Profit Entities. Account Org Soc. 1980; 5(1):87-107.
[11] Charnes A, Clark CT, Cooper WW, et al. A developmental study of Data Envelopment Analysis in measuring the efficiency of maintenance units in the U.S. Air Forces. Research Report. Texas: The University of Texas; 1983. Report No.: CCS 460. Contract No.: F49642-82-C0129.
[12] Charnes A, Cooper WW, Lewin AY, et al. Data Envelopment Analysis Theory, Methodology and Appli- cations. New York: Springer Science and Business Media; 1994.
[13] Daraio C, Diana M, Costa FD, et al. Efficiency and effectiveness in the urban public transport sector : A critical review with directions for future research. Eur J Oper Res. 2016; 248:1–20.
[14] Scheel H. Undesirable outputs in efficiency valuations. Eur J Oper Res. 2001; 132(2):400-410.
[15] Berg SA, Forsund FR, Jansen ES. Malmquist indices of productivity growth during the deregulation of Norwegian Banking 1980-89. Scand J Econ. 1992; 211-228.
[16] Samoilenko S, Osei-Bryson KM. Determining sources of relative inefficiency in heterogeneous samples: Methodology using Cluster Analysis, DEA and Neural Network. Eur J Oper Res. 2010; 206:479–487.
[17] Wu J, Liang L, Song M. Performance Based Clustering for Benchmarking of Container Ports: An Application of DEA and Cluster Analysis Technique. Int J Comput Intell Syst. 2010; 3(6):709-722.
[18] กระทรวงการคลัง. ที่ กค 0406.4/ว.64 อัตราค่าเช่ารถยนต์มาใช้ในราชการ; 4 กรกฎาคม 2555; 1-3.