อิทธิพลของสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานต่อคุณภาพชิ้นงานในการลากขึ้นรูปกล่องสี่เหลี่ยม

Main Article Content

มนฤดี ผาบสิมมา
กังวาล นาคศุภรังษี
สว่าง ฉันทวิทย์

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเทคโนโลยีการลากขึ้นรูปลึกได้พัฒนามากขึ้นมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะการออกแบบตำแหน่งที่ไม่ต้องการให้มีร่องรอยของดรอว์บีดบนชิ้นงาน จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคใหม่เพื่อไม่ให้เกิดร่องรอยของดรอว์บีดขึ้น ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสมของสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานระหว่างส่วนเรียบตรงกับบริเวณมุมกล่องสี่เหลี่ยม ด้วยวิธีการกำหนดอัตราส่วนค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานค่าต่างๆ โดยใช้วัสดุเหล็กกล้ารีดเย็นตามมาตรฐาน JIS SPCC ความหนา 0.5 มิลลิเมตรใช้สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานบริเวณมุมกล่องสี่เหลี่ยมเท่ากับ 0.057, 0.061, 0.067, 0.073, และ 0.080 ตามลำดับและสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานส่วนเรียบตรงคงที่ 0.16 ขนาดชิ้นงานกว้าง 100 มิลลิเมตร ยาว 120 มิลลิเมตร ลึก 50 มิลลิเมตร หล่อลื่นด้วยน้ำมันมะพร้าว ใช้ความเร็วในการลากขึ้นรูปคงที่ 35 mm/sec จากผลลัพธ์การจำลอง และการทดลอง พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานต่ำจะทำให้ความสามารถในการลากขึ้นรูปชิ้นงานดีขึ้นและในขณะเดียวกันอัตราส่วนสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานยิ่งมีค่ามากยิ่งทำให้การลากขึ้นรูปกล่องสี่เหลี่ยมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามรัศมีพันช์และรัศมีปากดายต่ำจะส่งผลให้ค่าความเครียดบริเวณก้นถ้วยมีค่ามากขึ้นและยังส่งผลต่อแรงในการลากขึ้นรูปที่มากขึ้นตามขนาดของรัศมีพันช์ และรัศมีปากดายที่เปลี่ยนไป การลดสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานบริเวณมุมกล่องสี่เหลี่ยมยิ่งมากยิ่งจะเป็นผลดีต่อการลากขึ้นรูปกล่องสี่เหลี่ยม และจากผลการวิจัยยังพบว่าการใช้ระเบียบวิธีทางไฟไนต์เอลิเมนต์สามารถช่วยในการทำนายกระบวนการลากขึ้นรูปกล่องสี่เหลี่ยมเพื่อลดต้นทุนการออกแบบและสร้างแม่พิมพ์รวมถึงช่วยลดต้นทุนการผลิตด้านอื่นๆ ได้เป็นอย่างดีและสามารถทำให้ทราบถึงเงื่อนขอบเขตความสามารถในการลากขึ้นรูปลึกรวมถึงการใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ ในการพิจารณาเลือกใช้ตัวแปรต่างๆ ในกระบวนการลากขึ้นรูปลึกได้อย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กิตติภัฏ รัตนจันทร์. ผลกระทบของดรอว์บีดในการขึ้นรูปโลหะแผ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (วิศวกรรมการผลิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ: 2542.

[2] เชษฐ อุทธิยัง. การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลากขึ้นรูปลึกโดยใช้สารหล่อลื่น วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการขึ้นรูปโลหะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี: 2546.

[3] ไพศาล เอี่ยมมิ, ธวัชชัย แก้วสีไส, บัญชา วงศ์ศรีทา, และคณะ “อิทธิพลของรัศมีบ่าดายในการลากขึ้นรูปถ้วยสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบมีปีก” การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2554. 21-24 ตุลาคม 2554.

[4] วารุณี เปรมมานนท์. “การออกแบบและสร้างแม่พิมพ์”กรุงเทพฯ:สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี; 2554.

[5] B.Y. Ghoo and Y. T. Keum. “Expert drawbead models for sectional FEM analysis of sheet metal forming processes.” Journal of Materials ProcessingTechnology 2000; Vol. 105: (1-2): Pages 7-16.

[6] F. Mehmet, “An analysis of sheet drawing characteristics with drawbead elements.” Computational Materials Science 2008; Vol.41 (3): Pages 266-2.

[7] Xi Wang and Jian Cao, “An Analytical Prediction of Flange Wrinkling in Sheet MetalForming” Journal of Manufacturing Process 2000; .Vol. 2: No. 2.