การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกกบของชุมชนบ้านตรอกปลาไหล ตำบลย่านรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

รุ่งทิพย์ วงศ์ต่อม
วิภาวัน จุลยา
ดวงฤทัย ธำรงโชติ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกกบของชุมชน  บ้านตรอกปลาไหล  ตำบลย่านรีอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี  โดยการแยกชิ้นส่วน ซึ่งในกบ 1 ตัวทำการแยกออกเป็นชิ้นส่วนได้ 5 ส่วน คือ ส่วนน่อง ขาหน้าติดอก พื้นท้อง กระดูกสันหลัง และหัว  ยกเว้น เครื่องใน และหนัง แล้วนำไปทำการทอดที่อุณหภูมิ 180±5 องศาเซลเซียส จนกระทั่งเหลือความชื้น 35±5% ต่อด้วยการอบแห้งในตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 80±5 องศาเซลเซียส จนกระทั่งเหลือความชื้น 15±3% ส่วนน่อง 1,375±0.28 กรัม มากสุด และส่วนพื้นท้องต่ำสุด 256±0.40 กรัม เมื่อนำชิ้นส่วนกบแห้งร้อยละ 25     ไปทำเป็นผลิตภัณฑ์น้ำพริก พบว่า น้ำพริกกบจากส่วนน่อง ได้รับคะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสมากที่สุด โดยมีคะแนนความชอบโดยรวมเท่ากับ 8.54±1.22 ส่วนน้ำพริกกบจากส่วนกระดูกสันหลังได้รับคะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสต่ำที่สุด  โดยมีคะแนนความชอบโดยรวมเท่ากับ 5.15±1.36 และเมื่อนำไปถ่ายทอดให้กับกลุ่มชุมชนเป้าหมาย พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อสูตรน้ำพริกกบเทคนิคการถ่ายทอดความรู้จากทีมวิทยากร และการนำความรู้ไปใช้  ในระดับคะแนนพอใจมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] [เข้าถึงเมื่อ 29 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.taladsimummuang.com/dmma/Portals/PriceListItem.aspx?id=070301010.
[2] [เข้าถึงเมื่อ 29 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.nutritionvalue.org/Frog_legs,_raw_nutritional_value.html.
[3] [เข้าถึงเมื่อ 29 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก:http://taxclinic.mof.go.th/products/detail.php?ID=74
[4] [เข้าถึงเมื่อ 29 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก:http://www.thaifooddb.com/article/article096_history_ and_types_of_chili_paste.html
[5] [เข้าถึงเมื่อ 29 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก .http://frynn.พริกขี้หนู