การพยากรณ์ปริมาณการส่งออกปลาหมึกและผลิตภัณฑ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ การสร้างและคัดเลือกตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมกับอนุกรมเวลาปริมาณการส่งออกปลาหมึกและผลิตภัณฑ์ โดยใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2561 จำนวน 95 ค่า ข้อมูลถูกแบ่งออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนกันยายน 2561 จำนวน 93 ค่า สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ด้วยวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบบวก และวิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบคูณ ชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2561 จำนวน 2 ค่า สำหรับการเปรียบเทียบความถูกต้องของค่าพยากรณ์ โดยใช้เกณฑ์เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) และเกณฑ์รากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) ที่ต่ำที่สุด ผลการศึกษาพบว่า จากวิธีการพยากรณ์ทั้งหมดที่ได้ศึกษา วิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ วิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ (MAPE = 4.64, RMSE = 215,204)
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] สุภาภรณ์ กอสูงเนิน. การส่งออกปลาหมึกแห้งไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.
[3] การวิเคราะห์เส้นทางการส่งออกปลาหมึกสดแช่เย็นไปยังประเทศเกาหลีใต้. [Internet]. กรุงเทพมหานคร : กองควบคุมการค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต กรมประมง. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2562]. จาก: https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20180226115600_1_file. pdf
[4] สถิติการส่งออกปลาหมึกและผลิตภัณฑ์ (รวม) ตั้งแต่ปี 2554 ถึง 2561. [Internet]. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร : กรุงเทพมหานคร ; 2561. [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2562]. จาก: http://impexp.oae.go.th/service/export.php?S_YEAR=2554&E_YEAR=2561&PRODUCT_GROUP=5368&PRODUCT_ID=&wf_search=&WF_SEARCH=Y
[5] Box GEP, Jenkins GM, Reinsel GC. Time Series Analysis: Forecasting and Control. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall; 1994.
[6] สมเกียรติ เกตุเอี่ยม. เทคนิคการพยากรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2548.
[7] วรางคณา กีรติวิบูลย์. การพยากรณ์ปริมาณการส่งออกยางคอมปาวด์. ว.วิทยาศาสตร์ มศว. 2557; 30(2): 41-56.
[8] ดนุสรณ์ ธนะปาละ, ธันวา เจริญศิริ, ชนาธิป โสภณพิมล. การพยากรณ์ราคาสับปะรดที่ส่งเข้าโรงงานด้วยวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์. ว.วิทยาศาสตร์บูรพา 2559; 21(1):110-118.
[9] วรางคณา เรียนสุทธิ์, น้ำอ้อย นิสัน. การพยากรณ์ปริมาณการส่งออกไก่แปรรูป. ว.มหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560; 25(2):140-152.
[10] Montgomery DC, Peck EA, Vining GG. Introduction to Linear Regression Analysis. 4th ed. New York: John Wiley and Sons; 2006.