การเจริญและสร้างฟิล์มชีวภาพของแบคทีเรียสายพันธุ์ Escherichia coli บนพื้นผิวแผ่นสแตนเลสโดยการเพาะเลี้ยงด้วยน้ำนม

Main Article Content

ณัฐวุฒิ มีศิลป์

บทคัดย่อ

แบคทีเรีย E. coli พบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมและส่วนลำไส้ของมนุษย์ ซึ่งเป็นเชื้อฉวยโอกาสและสาเหตุของการติดเชื้อในทางเดินอาหารทำให้เกิดอาการท้องร่วง สามารถรอดชีวิตจากกระบวนการทำความสะอาดด้วยวิธีต่าง ๆ จึงเป็นสาเหตุทำให้มีการปนเปื้อนบนวัสดุและเครื่องมือสำหรับกระบวนการผลิตอาหาร งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาลักษณะการเจริญและการเกิดฟิล์มชีวภาพจากแบคทีเรีย E. coli บนพื้นผิวแผ่นสแตนเลสเกรด 316 แบคทีเรีย E. coli มีลักษณะการเพิ่มปริมาณเซลล์อย่างรวดเร็วทำให้เข้าสู่ช่วงของการเจริญแบบทวีคูณ (Exponential phase) เมื่อเพาะเลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อ Nutrient broth (NB) ภายใน 2 ชั่วโมง บ่มที่อุณหภูมิ 37 C (9 log cfu/mL) และมีลักษณะการเจริญทำนองเดียวกันเมื่อเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย E. coli ด้วยน้ำนม UHT ในขณะที่การทดสอบเก็บรักษาน้ำนมที่ปนเปื้อนด้วยแบคทีเรีย E. coli ไว้ที่อุณหภูมิ 4 C ยังพบการเพิ่มปริมาณภายใน 2 ชั่วโมง (8 log cfu/mL) เช่นเดียวกัน แต่มีปริมาณแบคทีเรียที่ต่ำกว่า การสร้างฟิล์มชีวภาพเกิดเป็นระยะโครงสร้างสมบูรณ์บนพื้นผิวแผ่นสแตนเลสที่มีแบคทีเรีย E. coli เจริญ ซึ่งเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วภายใน 2 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 37 C เมื่อเพาะเลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อ NB และน้ำนม UHT แต่การเก็บน้ำนม UHT ที่ปนเปื้อนด้วยแบคทีเรีย E. coli ไว้ที่อุณหภูมิ 4 C มีการเกิดฟิล์มชีวภาพระยะโครงสร้างสมบูรณ์ช้ากว่า (4-6 ชั่วโมง) ดังนั้น การเก็บรักษาน้ำนมด้วยอุณหภูมิต่ำจึงช่วยชะลอการเจริญและการสร้างฟิล์มชีวภาพของแบคทีเรีย E. coli ในช่วงระยะแรก (2 ชั่วโมง) แต่ปริมาณแบคทีเรียไม่ลดปริมาณลงที่อุณหภูมิ 4 C เนื่องจากมีโครงสร้างของฟิล์มชีวภาพช่วยปกป้องเซลล์แบคทีเรียในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Katholm J, Andersen PH. Acute coliform mastitis in dairy cows: Endotoxin and biochemical changes in plasma and colony-forming units in milk. Vet Rec. 1992; 131:513-4.

Bleul U, Sacher K, Corti S, et al. Clinical findings in 56 cows with toxic mastitis. Vet Rec. 2006; 159:677-9.

Hagiwara S, Mori K, Okada H, et al. Acute Escherichia coli mastitis in dairy cattle: Diagnostic parameters associated with poor prognosis. J Vet Med Sci. 2014; 76(11):1431-6.

Cebra CK, Garry FB, Dinsmore RP. Naturally occurring acute coliform mastitis in Holstein cattle. J Vet Intern Med. 1996; 10:252-7.

Lee SY. High cell-density culture of Escherichia coli. Trends Biotechnol 1996; 14:98-105.

Wenz JR., Barrington GM, Garry FB, et al. Bacteremia associated with naturally occurring acute coliform mastitis in dairy cows. J Am Vet Med Assoc. 2001; 219:976-81.

Beloin C, Roux A, Ghigo JM. Escherichia coli Biofilms. In: Romeo T, editors. bacterial Biofilms. Current Topics in Microbiology and Immunology Volume 322. Springer, Berlin,Heidelberg: Springer. 2008.

Garrett TR, Bhakoo M, Zhang Z. Bacterial adhesion and biofilms on surfaces. Prog Nat Sci-Mater. 2008; 18:1046-56.

ณัฐวุฒิ มีศิลป์, ณัฐวุฒิ สร้อยพิมาย, วรพงษ์ ครูสอนดี และคณะ. ประสิทธิภาพของแบคทีเรียสายพันธุ์ Streptococcus thermophilus ในการผลิตสารคล้ายแบคเทอริโอซินเพื่อยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค. วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ. 2561; 12(2).80-91.

Tseng KH, Wang NS. Research on bead width and penetration depth of multicomponent flux-aided arc welding of grade 316 L stainless steel. Powder Technol. 2017; 311:514-21.

Rossoni EMM, Gaylarde CC. Comparison of sodium hypochlorite and peracetic acid as sanitizing agents for stainless steel food processing surfaces using epifluorescence microscopy. Int J Food Microbiol. 2000; 61(1):81-5.

Kumar P, Libchaber A. Pressure and temperature dependence of growth and morphology of Escherichia coli: Experiments and stochastic model. Biophys J. 2013; 105:783-93.

White-Ziegler CA, Um S, Pèrez NM, et al. Low temperature (23 ◦C) increases expression of biofilm-, cold-shock- and RpoS-dependent genes in Escherichia coli K-12. Microbiol. 2008; 154:148-166.

Laganenka L, Sourjik V, Autoinducer 2-dependent Escherichia coli Biofilm formation is enhanced in a dual-Species coculture. Appl Environ Microbiol. 2017; 84(5):1-15.

Esbelin J, Santos T, Hébraud M. Desiccation: An environmental and food industry stress that bacteria commonly face. Food Microbiol. 2018; 69:82-8.

Brackett RE. Shelf stability and safety of fresh produce as influenced by sanitation and disinfection. J Food Protect. 1992; 55:808-14.

Rühs PA, Böni L, Fuller GG, et al. In-Situ quantification of the interfacial rheological response of bacterial biofilms to environmental stimuli. PLOS ONE. 2013; 8(11):1-9.

Sozanska B. Raw cow’s milk and its protective effect on allergies and asthma. Nutrients. 2019; 11(469):1-10.