ศักยภาพในการผลิตแก๊สชีวภาพจากของเสียอินทรีย์จากอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมจากแหล่งเทศบาลเมืองเขารูปช้าง โดยใช้การหมักแบบกะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพในการผลิตแก๊สชีวภาพจากของเสียจากแหล่งเทศบาลเมือง เขารูปช้าง จังหวัดสงขลา โดยใช้การหมักแบบกะ โดยใช้ของเสียอินทรีย์จากแหล่งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ ของเสียอุตสาหกรรมจากโรงงานแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็ง โรงงานปลาป่นที่ใช้วัตถุดิบจากขนไก่ โรงงานปลาป่นที่ใช้วัตถุดิบจากปลา โรงงานแปรรูปปลาหมึก โรงงานปลากระป๋อง และของเสียจากเกษตรกรรมจากการเลี้ยงสุกร พบว่าของเสียจากอุตสาหกรรมมีศักยภาพต่ำโดยให้ผลได้มีเทนเพียง 21.06-34.64 มิลลิลิตรมีเทนต่อกรัมของแข็งที่ระเหยง่าย โดยโรงงานแปรรูปปลาหมึกให้ค่าผลได้มีเทนสูงสุดคือ 34.64 มิลลิลิตรมีเทนต่อกรัมของแข็งที่ระเหยง่าย ให้อัตราการผลิตมีเทน 0.99 มิลลิลิตรมีเทนต่อกรัมของแข็งที่ระเหยง่ายต่อวัน และมีปริมาณมีเทนร้อยละ 48.20 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 กับอีก 4 แห่ง ส่วนของเสียจากเกษตรกรรมคือของเสียจากการเลี้ยงสุกรมีศักยภาพแก๊สชีวภาพในการผลิตแก๊สชีวภาพสูงกว่าของเสียจากแหล่งอุตสาหกรรม โดยให้ค่าผลได้มีเทน 48.09 มิลลิลิตรมีเทนต่อกรัมของแข็งที่ระเหยง่าย ให้อัตราการผลิตมีเทน 1.37 มิลลิลิตรมีเทนต่อกรัมของแข็งที่ระเหยง่ายต่อวัน และมีปริมาณมีเทนร้อยละ 62.41 และเมื่อทำการหมักร่วมระหว่างของเสียจากอุตสาหกรรมกับเกษตรกรรม พบว่าทำให้มีศักยภาพในการผลิตมีเทนสูงขึ้นโดยให้ผลได้มีเทนเพิ่มขึ้นเป็น 41.59-57.38 มิลลิลิตรมีเทนต่อกรัมของแข็งที่ระเหยง่าย โดยการหมักร่วมระหว่างของเสียจากโรงงานปลาหมึกกับของเสียจากการเลี้ยงสุกรให้ค่าผลได้มีเทนสูงสุดคือ 57.38 มิลลิลิตรมีเทนต่อกรัมของแข็งที่ระเหยง่าย ให้อัตราการผลิตมีเทน 1.91 มิลลิลิตรมีเทนต่อกรัมของแข็งที่ระเหยง่ายต่อวัน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 กับการหมักร่วมระหว่างของเสียอินทรีย์จากแหล่งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมอีก 4 ชุดทดลอง และการหมักร่วมของเสียอินทรีย์จากอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมจะให้ปริมาณร้อยละมีเทนในแก๊สชีวภาพสูงขึ้นอยู่ในช่วงร้อยละ 57.23-67.45
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของเทศบาลเมืองเขารูปช้าง. [อินเทอร์เน็ต]. สงขลา: เทศบาลเมืองเขารูปช้าง; 2562. [เข้าถึงเมื่อ 28 ธันวาคม 2562]. จากhttp://www.krc.go.th/content/info.pdf.
กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือวิชาการระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ; 2546.
Hong CM. Studies on the quantity and quality of hog excrement. Journal of Biomass Energy Society of Taiwan. 1985; 4: 81-91.
Chen JL, Li XM, Li YD, et al. Production of hydrogen and nanocarbon from direct decomposition of undiluted methane on high-nickeled Ni–Cu–alumina catalysts. Chem Lett. 2003; 32(5): 424–25.
Largus TA, Khursheed K, Muthanna HA, et al. Production of bioenergy and biochemicals from industrial and agricultural wastewater. Trends Biotechnol. 2004; 22(9): 477–85.
Holm-Nielsen JB, Al Seadi T, Oleskowicz-Popiel P. The future of anaerobic digestion and biogas utilization. Bioresource Technology. 2009; 100(22): 5478-84.
Weiland P. Biogas production: current state and perspectives. Appl Microbiol Biotechnol. 2010; 85: 849-60.
Angelidaki I, Ellegaard L, Ahring BK. A mathematical model for dynamic simulation of anaerobic digestion of complex substrates: focusing on ammonia inhibition. Biotechnol Bioeng. 1993; 42:159–66.
Bagi Z, Acs N, Balint B, et al. Biotechno-logical intensification of biogas production. Appl Microbiol Biotechnol. 2007; 76(2): 473–82.
Chandra R, Vijay VK, Subbarao PMV, et al. Production of methane from anaerobic digestion of jatropha and pongamia oil cakes. Applied Energy. 2012; 93: 148–59.
Fountoulakis MS, Petousi I, Manios T. Co-digestion of sewage sludge with glycerol to boost biogas production. Waste Management. 2010; 30(10): 1849-53.
Luostarinen S, Luste S, Sillanp M. Increased biogas production at wastewater treatment plants through co-digestion of sewage sludge with grease trap sludge from a meat processing plant. Bioresource Technology. 2009; 100(1): 79-85.
APHA, AWWA, WPCF. Standard methods for the examination of water and wastewater. American Public Health Association, Washington DC. 1998.
Tian H, Duan N, Lin C, et al. Anaerobic Co-digestion of Kitchen Waste and Pig Manure with Different Mixing Ratios. J Biosci Bioeng. 2015; 120(1): 51-7.
สวรรค์ ธิติสุทธิ, กาญนิถา ครองธรรมชาติ, สมชาย ดารารัตน์. ความสามารถจำเพาะในการผลิตมีเทนของจุลินทรีย์แบบเม็ดในการบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศจากน้ำเสียกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 2550; 12(2): 46-54.
Panpong K, Srisuwan G, O-Thong S, et al. Anaerobic co-digestion of canned seafood wastewater with glycerol waste for enhanced biogas production. Energy Procedia. 2014; 52: 328-336.
Koupaie EH, Leiva MB, Eskicioglu C, et al. Mesophilic batch anaerobic co-digestion of fruit-juice industrial waste and municipal waste sludge : Process and cost-benefit analysis. Bioresource Technology. 2014; 152(1): 66-7