การใช้แป้งข้าวโพดดัดแปรเป็นสารทดแทนพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ ในกระบวนการลงแป้งเส้นด้ายทีซี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และสัดส่วนที่เหมาะสมในการใช้แป้งข้าวโพดดัดแปรเป็นสารทดแทนพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในการลงแป้งเส้นด้ายทีซี ทดลองโดยใช้เส้นด้ายทีซีเบอร์ 45 ลงแป้งด้วยสูตรแป้งที่แตกต่างกัน 4 สูตร ได้แก่สูตรสารลงแป้งด้วยพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ชนิดเดียว สูตรผสมระหว่างพอลิไวนิลแอลกอฮอล์และแป้งข้าวโพดดัดแปรในอัตราส่วน 75 : 25 และอัตราส่วน 50 : 50 และสูตรสารลงแป้งด้วยแป้งข้าวโพดดัดแปรชนิดเดียว เส้นด้ายที่ผ่านการลงแป้งทั้ง 4 สูตร นำมาทดสอบความแข็งแรงต่อแรงดึง การยืดตัว และความเหนียวของเส้นด้าย ความคงทนต่อการขัดถู และประสิทธิภาพการทอ ผลการทดลองพบว่าสามารถใช้แป้งข้าวโพดดัดแปรทดแทนการใช้พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ได้ทั้งหมดในการลงแป้งเส้นด้ายยืน เส้นด้ายที่ลงแป้งด้วยแป้งข้าวโพดดัดแปรในสัดส่วนร้อยละ 100 ให้สมบัติทางกายภาพและมีความคงทนต่อการขัดถูของเส้นด้ายดีที่สุด เส้นด้ายหลังการลงแป้งมีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงต่อแรงดึงเท่ากับ 3.71 ± 0.17 นิวตัน ค่าเฉลี่ยการยืดตัวสูงสุดเท่ากับ 42.15 ± 1.46 มิลลิเมตร และค่าเฉลี่ยความเหนียวเท่ากับ 28.05 ± 1.27 เซนตินิวตัน/เท็กซ์ ผ้าทอที่ผลิตจากเส้นด้ายที่ลงแป้งด้วยแป้งข้าวโพดดัดแปร มีสมบัติที่ดีเหมือนการใช้สูตรที่มีพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ รวมทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทอโดยมีเส้นด้ายขาดระหว่างการทอน้อยที่สุด ทำให้ได้ผ้าทอที่มีความยาวมากที่สุด คือ 44.50 หลาต่อวัน
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา. อุตสาหกรรมสิ่งทอไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
Kovačević S, Schwarz I, Đorđević S, et al. Synthetized Potato Starch—A New Eco Sizing Agent for Cotton Yarns. Polymers. 2019; 11(5):908.
Zaisheng C, Yiping Q, Chuyang Zh, et al. Effect of Atmospheric Plasma Treatment on Desizing of PVA on Cotton. Text Res J. 2003; 73(8):670–4.
Chen L, Reddy N, Yang Y. Soy proteins as environmentally friendly sizing agents to replace poly (vinyl alcohol). Environ Sci Pollut Res Int. 2013; 20(9):6085–95.
Du G, Liu L, Song Z, et al. Production of polyvinyl alcohol-degrading enzyme with Janthino bacterium sp. and its application in cotton fabric desizing. Biotechnol J. 2007; 2(6):752–8.
Xiao H, Zhang W. Current Situation of Environment Protection Sizing Agent and Paste. J Sustain Dev [Internet]. 2009 Oct 20 [cited 2019 Nov 10];2(3). Available from: http://www.ccsenet.org/journal/index.php/jsd/article/view/4250
Liu RR, Tian Q, Yang B, et al. Hybrid anaerobic baffled reactor for treatment of desizing wastewater. Int J Environ Sci Technol. 2010; 7(1):111–8.
Maqsood M, Khan MI, Shaker K, et al. Recycling of warp size materials and comparison of yarn mechanical properties sized with recycled materials and virgin materials. J Text Inst. 2017; 108(1):84–8.
Matsumura S, Kurita H, Shimokobe H. Anaerobic biodegradability of polyvinyl alcohol. Biotechnol Lett. 1993; 15(7):749–54.
Yu H, Gu G, Song L. Degradation of Polyvinyl Alcohol in Sequencing Batch Reactors. Environ Technol. 1996; 17(11):1261–7.
ยศวัต ตั้งฐานานุศักดิ์, ปลื้มจิตต์ เตชธรรมรักข์, สมภพ นราภิรมย์อนันต์. การศึกษาลักษณะของเส้นด้ายฝ้ายที่ลงแป้งโดยใช้แป้งมันสำปะหลังดัดแปรแบบออกซิไดซ์ [Internet]. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี . นครนายก; 2552;7(1-2) [cited 2562 พฤศจิกายน 10]. จาก: https://journal.engineer.rmutt.ac.th/enjournal/index.php/enjournal/article/view/142
บิณฑ์สันต์ ขวัญข้าว, วิชุดา จันทร์ประภานนท์, ศิริวรรณ ศรีธรรมรงค์. สมบัติของเส้นด้ายฝ้ายที่ลงแป้งด้วยแป้งสาคู. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี. 2561;2:13–22.
Kovačević S, Đorđević S, Đorđević D. Natural Modified Starch and Synthetic Sizes in Function of Characteristics of Sized Yarn. Fibres Text East Eur. 2016; 24(1(115)):56–66.
Gandhi KL. 4 - Yarn preparation for weaving: sizing [Internet]. Woven Textiles. Woodhead Publishing; 2012 [cited 2019 Nov 12]. Available from: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/B9781845699307500049
Djordjevic S, Kovacevic S, Djordjevic D, et al. Sizing process of cotton yarn by size from a copolymer of methacrylic acid and hydrolyzed potato starch. Text Res J. 2019 ; 89(17):3457–65.
Zhifeng Z, Xiong Z. Effect of Starch/SiO2 Nanoparticle Blends on the Adhesion of Starch to Fibers for Warp Sizing. AATCC Rev. 2008; 8:45–8.
Brockway CE. Sizing Hydrophobic Fibers With Acrylate Polymers And Gelatinized Starch Or Graft Copolymers. US Patent.; Thereof (Staley Patent) 3,061,472.,1962.
Hebeish A, Aly A, El-Shafei A, et al. Innovative Starch Derivatives as Textile Auxiliaries for Application in Sizing, Finishing and Flocculation. Starch ‐ Stärke. 2008; 60:97–109.
Zhang S-D, Zhang Y-R, Zhu J, et al. Modified Corn Starches with Improved Comprehensive Properties for Preparing Thermoplastics. Starch - Stärke. 2007; 59(6):258–68.