การคัดเลือกไกด์พินที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ไกด์พินมีความสำคัญในระบบการผลิตเพราะเป็นสิ่งที่สามารถบังคับให้ชิ้นงานอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องในกระบวนการผลิต แต่การเลือกไกด์พินนั้นเป็นปัญหาการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ (Multiple criteria decision-making, MCDM) เนื่องจากเกี่ยวข้องกับเกณฑ์การตัดสินใจและทางเลือกจำนวนมาก ดังนั้นการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการตัดสินใจเลือกไกด์พินที่มีความเหมาะสมมากที่สุดสำหรับกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ การศึกษาวิจัยนี้เริ่มจากกำหนดเกณฑ์การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องจากงานวิจัยต่าง ๆ และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทำงานและมีความรับผิดชอบในกระบวนการผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ปี จากนั้นสร้างแบบสอบถามโดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเกณฑ์กับวัตถุประสงค์ (Index of item-objective congruence, IOC) เพื่อระบุเกณฑ์การตัดสินใจที่เหมาะสมต่อการตัดสินใจเลือกไกด์พิน โดยพบว่าเกณฑ์การตัดสินใจที่มีผลต่อการคัดเลือกไกด์พิน ประกอบไปด้วยเกณฑ์การตัดสินใจเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ได้แก่ ต้นทุน อายุการใช้งาน คุณภาพผลิตภัณฑ์ และรูปทรง หลังจากนั้นใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic hierarchy process, AHP) เพื่อการตัดสินใจเลือกไกด์พิน ผลการวิจัยพบว่า ไกด์พินที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ ไกด์พินเซรามิก มีน้ำหนักความสำคัญเท่ากับ 0.564 ตามด้วยไกด์พินโพลียูริเทนและเคซีเอฟ มีน้ำหนักความสำคัญเท่ากับ 0.259 และ 0.177 ตามลำดับ เมื่อนำไกด์พินเซรามิกไปใช้งานเป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่าไกด์พินดังกล่าวสามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลิตภาพในเวลาเดียวกัน เนื่องจากจำนวนของไกด์พินที่ใช้ในกระบวน การผลิต ต้นทุนไกด์พิน และจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานลดลงร้อยละ 89.19, 50.00 และ 97.25 ตามลำดับ
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
วรรณา ยงพิศาลภพ. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาห-กรรม ปี 2563-65 อุตสาหกรรมรถยนต์ [อิน-เตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงศรีอยุธยา; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 3 มิถุนายน 2563]. จาก: https://www.krungsri.com/bank/getmedia/a18aad1f-e16c-44d5858f-df5e90fe8eab/IO_Autom.
Ayag Z, Özdemir RG. Evaluating machine tool alternatives through modified TOPSIS and alpha-cut based fuzzy ANP. Int J Prod Econ. 2012;140(2):630-6.
Taha Z, Rostam S. A hybrid fuzzy AHP-PROMETHEE decision support system for machine tool selection in flexible manufacturing cell. J Intell Manuf. 2012; 23(6):2137-49.
Nguyen HT, Dawal SZM, Nukman Y, et al. A hybrid approach for fuzzy multi-attribute decision making in machine tool selection with consideration of the interactions of attributes. Expert Syst Appl. 2014;41(6):3078-90.
Kumru M, Kumru PY. A fuzzy AHP model for the selection of 3D coordinate-measuring machine. J Intell Manuf. 2015; 26(5):999-1010.
Nguyen HT, Dawal SZM, Nukman Y, et al. An integrated approach of fuzzy linguistic preference based AHP and fuzzy COPRAS for machine tool eval-uation. PLoS One. 2015; 10(9):e0133599.
Wu Z, Ahmad J, Xu J. A group decision making framework based on fuzzy VIKOR approach for machine tool selection with linguistic information. Appl Soft Comput. 2016; 42:314-24.
Ding Z, Jiang Z, Zhang H, et al. An integrated decision-making method for selecting machine tool guideways considering remanufacturability. Int J Comput Integr Manuf. 2018; 31:1-12.
Li H, Wang W, Fan L, et al. A novel hybrid MCDM model for machine tool selection using fuzzy DEMETAL, entropy weighting and later defuzzification VIKOR. Appl Soft Comput. 2020;91:106207.
Hasan AF, Bennett CJ, Shipway PH. A numerical comparison of the flow behaviour in friction stir welding (FSW) using unworn and worn tool geo-metries. Mater Des. 2015; 87:1037-46.
Derazkola HA, Simchi A. Experimental and thermomechanical analysis of the effect of tool pin profile on the friction stir welding of poly (methyl methacrylate) sheets. J Manuf Process. 2018; 34:412-23.
Kurabe Y, Miyashita Y, Hori H. Joining process and strength in PVC friction stir spot welding with fabricating composite material at welding area. Weld Int. 2017;31(5):354-62.
Resistance Welding Spare Parts and Accessory [Internet]. Spot-welder; 2019. [cited 2020 June 18] Available from: http://resistanceweldingaccessory.blogspot.com/search/label/KCF%20Guide%20Pin.
Saaty TL. A scaling method for priorities in hierarchical structures. J Math Psychol. 1977; 15(3):234-81.
Kabak M, Erbas M, Çetinkaya C, et al. A GIS-based MCDM approach for the evaluation of bike-share stations. J Clean Prod. 2018; 201:49-60.
นิธิเดช คูหาทองสัมฤทธิ์. การเลือกเส้นทางการขนส่งสินค้าที่เหมาะสม โดยการวิเคราะห์การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. 2560; 11(1):137-50.
Akaa OU, Abu A, Spearpoint M, et al. A group-AHP decision analysis for the selection of applied fire protection to steel structures. Fire Saf J. 2016; 86:95-105.
Meethom W, Koohathongsumrit N. A decision support system for road freight transportation route selection with new fuzzy numbers. Foresight. 2020; 22(4): 505-27.
Konstantinos I, Georgios T, Garyfalos A. A decision support system methodology for selecting wind farm installation locations using AHP and TOPSIS: case study in eastern Macedonia and Thrace region, Greece. Energy Policy. 2019;132:232-46.
Kumar RR, Mishra S, Kumar C. Prioritizing the solution of cloud service selection using integrated MCDM methods under fuzzy environment. J Supercomput. 2017; 73:4652-82.
นิธิเดช คูหาทองสัมฤทธิ์. การประยุกต์ระบบตรรกศาสตร์คลุมเครือในการประเมินความเสี่ยงสำหรับการเลือกเส้นทางการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่เหมาะสม. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 2562; 42(4):353-74.
Dweiri F, Kumar S, Khan SA, et al. Designing an integrated AHP based decision support system for supplier selection in automotive industry. Expert Syst Appl. 2016; 62:273-83.
นิธิเดช คูหาทองสัมฤทธิ์, วาสนา จัทร์ขำ. การ เลือกเส้นทางการขนส่งสินค้าด้วยการประเมิน ศักยภาพลักษณะทางกายภาพและการ ตัดสินใจแบบเรียงลำดับความสำคัญ เทียบเคียงอุดมคติ: กรณีศึกษาบริษัทผลิตสายไฟฟ้า. วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ. 2562; 13(2):99-114.
Sennaroglu B, Celebi GV. A military airport location selection by AHP integrated PROMETHEE and VIKOR methods. Transp Res D Transp Environ. 2018; 59:160-173.
Meethom W, Koohathongsumrit N. Design of decision support system for road freight transportation routing using multilayer zero one goal programming. Eng J. 2018; 22(6):185-205.
Ali SA, Ahmad A. Spatial susceptibility analysis of vector-borne diseases in KMC using geospatial technique and MCDM approach. J Adv Model Earth Syst. 2019; 5:1135-59.
Ilbahar E, Karaşan A, Cebi S, et al. A novel approach to risk assessment for occupational health and safety using Pythagorean fuzzy AHP & fuzzy inference system. Saf Sci. 2018; 103:124-36.