การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของพืชอาหารหมักจากข้าวฟ่างหวาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของพืชหมักจากข้าวฟ่างหวาน (Sorghum bicolor (L.) Moench.) เพื่อใช้สำหรับการเลี้ยงสัตว์ โดยการผลิตพืชอาหารหมักในวิธีการดังนี้ ได้แก่ 1) ข้าวฟ่างหวานหมัก 2) ข้าวฟ่างหวานหมักผสมรำข้าว 5 เปอร์เซ็นต์ 3) ชานข้าวฟ่างหวานหมักผสมกากน้ำตาล 5 เปอร์เซ็นต์ และ 4) ชานข้าวฟ่างหวานหมักผสมกากน้ำตาลและรำข้าวอย่างละ 5 เปอร์เซ็นต์ จากผลการทดลองพบว่า พืชอาหารหมักทั้ง 4 ชนิด มีลักษณะคุณภาพทางกายภาพที่ดี ด้านองค์ประกอบทางเคมี ข้าวฟ่างหวานหมักผสมรำข้าว 5 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณโปรตีนมากที่สุดเฉลี่ย 9.98 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ ข้าวฟ่างหวานหมักมีปริมาณโปรตีนเฉลี่ย 7.01 เปอร์เซ็นต์ ส่วนชานข้าวฟ่างหวานหมักผสมกากน้ำตาล 5 เปอร์เซ็นต์ และชานข้าวฟ่างหวานหมักผสมรำข้าว 5 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณโปรตีนเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และ 4.92 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เยื่อใยส่วนของผนังเซลล์ (NDF) ข้าวฟ่างหวานหมักและข้าวฟ่างหวานหมักผสมรำข้าว 5 เปอร์เซ็นต์ มีค่า NDF สูงกว่าชานข้าวฟ่างหวานหมักผสมกากน้ำตาล 5 เปอร์เซ็นต์ และชานข้าวฟ่างหวานหมักผสมกากน้ำตาลและรำข้าวอย่างละ 5 เปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่ชานข้าวฟ่างหวานหมักและชานข้าวฟ่างหวานหมักผสมรำข้าวมีเยื่อใยที่เหลือจากการละลายด้วยกรด (ADF) สูงกว่าข้าวฟ่างหวานหมักและข้าวฟ่างหวานหมักผสมรำข้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ชานข้าวฟ่างหวานแม้จะมีคุณค่าทางโภชนาการต่ำแต่มีสมบัติที่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบหลักในอาหารเลี้ยงสัตว์ได้
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Reddy BVS,Reddy PS. Sweet Sorghum: Characteristic and potential. International Sorghum and Millets Newsletter, ICRISAT. 2003;44:26-8.
ฉายแสง ไผ่แก้ว, พิมพาพร พลเสน, บุญชู ชมพูสอ. การทดสอบพันธุ์ข้าวฟ่างหวานเพื่อผลิตหญ้าหมัก. รายงานผลการวิจัยประจำปี 2546. กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2546;205-14.
ยิ่งยง เมฆลอย, มณี อัชวรานนท์. การเปรียบเทียบผล ผลิตและคุณค่าทางโภชนาการของข้าวโพดและข้าวฟ่างหวาน 3 พันธุ์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2563;22(2).13-22.
Dong M, Li Q, Xu F, et al. Effects of microbial inoculants on the fermentation characteristics and microbial communities of sweet sorghum bagasse silage. Scientific reports. [internet] 2020 Jan [ cited 2021 Aug 12]; 10(837): 1-9. Available from: https://doiorg/10.10.1083/s41598-020-57628-0
Kumari NN, Reddy YR, Blummel M, et al. Effect of feeding processed sweet sorghum (Sorghum bicolor L. Moench) bagasse based complete diet on nutrient utilization and microbial N supply in growing ram lambs. Small Ruminant Research. 2014:117(1).52-7.
Anandan S, Zoltan H, Blummel M, et al. Feeding value of sweet sorghum bagasse and leaf residues after juice extraction for bio-ethanol production fed to sheep as complete ration in diverse physical froms. J nifeedsci. 2012;175(3/4):134-6.
AOAC. Official Method of Analyses. 18th edition. Association of Official Analytical Chemists. Washington. D.C. 2011.
Van Soest PJ, Robertson J, Lewis BA. Methods for dietary fiber, neutral detergent fiber, and nonstarch polysaccharides in relation to animal nutrition. J Dairy Sci. 1991;74(10):3583-97.
ยิ่งยง เมฆลอย, ธงชัย ช่วยสถิต. การศึกษาคุณค่าทางอาหารของข้าวฟ่างหวานสำหรับสัตว์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560;20(1):37-49.
สายัณห์ ทัดศรี. พืชอาหารสัตว์เขตร้อน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์; 2547.
วิโรจน์ ภัทรจินดา. โภชนศาสตร์สัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่า. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2555.