เครื่องตรวจวัดความหวานเมล่อนด้วยเทคนิคอินฟราเรดย่านใกล้

Main Article Content

ชิดชนก มากจันทร์
สุธี ลี้จงเพิ่มพูน
วิรัช กองสิน
กิตติพงศ์ คล้ายดี
เอกชัย รัตนบรรลือ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาเครื่องตรวจวัดความหวานเมล่อนด้วยเทคนิคอินมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความสัมพันธ์ของช่วงความยาวคลื่นที่เหมาะสม ระยะติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัด และจำนวนอุปกรณ์ตรวจวัด ต่อค่าความหวาน ผลความหวานที่ได้จากการทดลองวิเคราะห์ด้วยอุปกรณ์ รีเฟล็กโต-มิเตอร์ ทำการทดลองที่ความยาวคลื่นอินฟราเรดความถี่ช่วงสั้นที่ 760, 810 และ 860 nm ที่ระยะห่างอุปกรณ์รับส่งสัญญาณแบบสะท้อนกลับตั้งแต่ 0.1-1 cm ตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์รับส่งสัญญาณแบบสะท้อนกลับจำนวน 1-3 ตำแหน่ง เมล่อนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลอง สายพันธ์ 115 อายุเก็บเกี่ยวไม่น้อยกว่า 80 วัน  น้ำหนักไม่น้อยกว่า 1.2 kg ขนาดเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 35 cm  ผลการทดลองพบว่าที่ความยาวคลื่นอินฟราเรดความถี่ช่วงสั้นที่ 860 nm ระยะห่างในการติดตั้งอุปกรณ์ที่ 0.1 cm และ ตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์รับส่งสัญญาณแบบสะท้อนกลับจำนวน 3 ตำแหน่ง สามารถให้ความแม่นยำในการวัดความหวานตามมาตรฐาน 12 _Brix ในห้องปฏิบัติการคือ 60% และค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ ±1_Brix

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักกำหนดมาตรฐาน และ สำนักงานมาตรฐานเกษตรและอาหารแห่งชาติ. โครงการสัมมนาเชิงปฎิบัติการวางมาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง ถั่วฝักยาว แตงเทศ และ แก้วมังกร [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 20 มิถุนายน 2561]. จาก: www.acfs.go.th/news/docs/acfs_09-07-57-03..html

พวงทิพย์ บุญช่วย. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร. เมล่อนญี่ปุ่น [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2562]. จาก: http://production.doae.go.th

พวงทิพย์ บุญช่วย. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร. เมล่อนญี่ปุ่น [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2562]. จาก:http://production.doae.go.th

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องแตงเทศ (Melon). มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 2559;26:1-13.

Paulo SL, Antonio R, Dantas D, et al; Juice Extraction for Total Soluble Solids Content Determination in Melon. Journal of Revista Caatinga. 2006;19(3):268-71.

Barcelon E, Tojo S, Watanabe K. Relating X-ray Absorption and Some Quality Characteristics of Mango Fruit (Mangifera indica L.). J Agr Food Chem. 1999;47(9):3822-3825.

อาทิตย์ จันทร์หิรัญ, วารุณี ธนะแพสย์, ศุมาพร เกษมสำราญ และคณะ. การตรวจสอบค่าความหวานผลลองกองด้วยเครื่องวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าย่านใกล้อินฟราเรด. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 2553;41(3/1):29-32

Rawankar A, Nanda M, Jadhav H, et al; Detection of N, P, K Fertilizers in Agricultural Soil with NIR Laser Absorption Technique. [Internet]. IEEE India; 2018 [cited 2019 Feb 12]. DOI: 10.1109/ICMAP.2018.8354625

กนกพร ชัยวุฒิกุล. NIR Spectrometerเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์สารอินทรีย์. [อินเทอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2562]. จาก:http://nirapplication.blogspot.com/2008/03/nirspectrometer.Html

นิธิยา รัตนาปนนท์. Refractometer. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2562]. จาก:http://www.foodnetworksolution.com

Ijaz M, Ghassemlooy Z, Pesek J, et al; Modeling of Fog and Smoke Attenuation in Free Space Optical Communications Link under Controlled Laboratory Conditions. J Lightwave Tech. 2013;31(11):1720-1726.

Kittler J, Windridge D, Goswami D, Subsurface scattering deconvolution for improved NIR-visible facial image correlation. [Internet]. IEEE United Kingdom; 2009 [cited 2019 Feb 13]. DOI: 10.1109/AFGR.2008.4813473