การวิเคราะห์อุบัติเหตุ ณ จุดตัดทางรถไฟโดยการใช้ทฤษฎีโครงข่าย

Railway level crossing accident analysis using network theory

ผู้แต่ง

  • รัฐพงศ์ มีสิทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชยุต อภิชวนันท์กุล
  • ศุภิสรานนท์ เรืองเสนา

คำสำคัญ:

จุดตัดทางรถไฟ, อุบัติเหตุ, ความปลอดภัยทางถนน, ทฤษฎีโครงข่าย

บทคัดย่อ

การเกิดอุบัติเหตุ ณ จุดตัดทางรถไฟ เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทั้งชีวิตและความน่าเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อระบบขนส่งทางรางในประเทศไทย งานวิจัยฉบับนี้นำเสนอวิธีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีโครงข่าย (Network theory) เพื่อหาความเชื่อมโยงของปัจจัยอันตรายต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ณ จุดตัดทางรถไฟ รวมถึงรู้ต้นตอของปัญหาเพื่อที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้นำไปแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลอุบัติเหตุ ณ จุดตัดทางรถไฟจากข่าวทั้งหมด 138 ข่าว (11 ปีย้อนหลัง พ.ศ. 2553-2563) ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยอันตรายที่สามารถนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายที่สุด คือ การไม่ปฎิบัติตามกฏจราจร รองลงมาคือการมีอุปกรณ์ความปลอดภัยบริเวณจุดตัดทางรถไฟที่ไม่เหมาะสม และอันดับที่สามเกี่ยวกับความไม่สมบูรณ์ทางด้านร่างกายของผู้ขับขี่ เช่น ตาบอดสี หูตึง เป็นต้น นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบอีกว่าการบริหารจัดการจุดตัดทางรถไฟและการบำรุงรักษาที่ยังขาดประสิทธิภาพเป็นปัจจัยอันตรายหลักที่เชื่อมโยงไปสู่กลุ่มปัจจัยอันตรายจากอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นกลุ่มปัจจัยอันตรายที่มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุที่พบบ่อยที่สุด ณ จุดตัดทางรถไฟ คือ รถไฟชนรถยนต์

References

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.). ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาจุดตัดรถไฟกับถนน. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mot.go.th

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม (สนข.). โครงการศึกษาจัดทำแผนแก้ไขอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนนสำหรับรถไฟทางไกล. [อินเ

ทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 6 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mot.go.th

Hu SR, Li CS, Lee CK. Investigation of key factors for accident severity at railroad grade crossings by using a logit model. Saf Sci 2010;48(2):186-94.

อาชิรญาณ์ ภัทร์ธนะวัฒน์, รัตนพงษ์ ชังชั่ว, วชิระ วิจิตรพงษา, อรรถวิทย์ อุปโยคิน. การตรวจสอบความปลอดภัยของจุดตัดทางรถไฟที่ควบคุมด้วยป้ายจราจร: เส้นทางที่ศึกษาสถานีป่าเส้าถึงสถานีสารภี. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ The 5th Atrans Symposium and The 4th Atrans Student Chapter Session - การขนส่งเพื่อชีวิตที่ดีกว่ากับการเตรียมตัวเข้าสู่การรวมประชาคมอาเซียน ในหัวข้อ Transportation for A Better Life: Preparing for Asean Integration วันที่ 24 สิงหาคม 2555. กรุงเทพฯ; 2555. หน้า 127-134.

ดลยฤทธิ์ เสฏฐสุวจะ, ปรเมศวร์ เหลือเทพ. การประเมินความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางรถไฟกรณีศึกษาสถานีรถไฟคลองแงะ-ควนเนียง จังหวัดสงขลา. Rajabhat J Sci Humanit Soc Sci 2561;19(1):99-110.

Jeremy D, Nadja I, Angela W. Motorist behaviour at railway level crossings: an exploratory study of train driver experience. In: proceedings of Australasian Road Safety Research Policing Education Conference 2005, November 14-16, 2005; Wellington, New Zealand; 2005. p. 127-132.

Sirkku L. Comparison of fatal motor vehicle accidents at passive and active railway level crossings in Finland. IATSS Res 2016;40(1):1-6.

ยุทธนา โนนศรีชัย, อาทิตยา นิ่มอนงค์, โชคชัย ปัดถามา, ธนกร วัฒนสมบัติกุล. แนวทางการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพบริเวณจุดตัดทางรถไฟ กรณี ศึกษาจุดตัดทางรถไฟ จังหวัดปราจีนบุรี. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 19 วันที่ 14-16 พฤษภาคม 2557. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น; 2557. หน้า 2483-2495.

Jintao L, Felix S, Wei Z, Jiebei Z. Understanding railway operational accidents using network theory. Reliab Eng Syst 2019;189:218-31.

กรมการขนส่งทางราง. โครงการศึกษาเพื่อลดอุบัติเหตุจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://drtcrossing.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28