กระถางชีวภาพจากผักตบชวาโดยใช้แป้งมันสำปะหลังและกากมันสำปะหลังเป็นตัวประสาน
คำสำคัญ:
กระถางชีวภาพ, ผักตบชวา, กากมันสำปะหลัง, การเสื่อมสภาพ, แป้งมันสำปะหลังบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการทำกระถางชีวภาพ 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นส่วนผสมของผักตบชวากับแป้งมันสำปะหลังและชนิดที่ 2 เป็นส่วนผสมของผักตบชวากับกากมันสำปะหลัง ซึ่งแป้งมันสำปะหลังและกากมันสำปะหลังทำหน้าที่ตัวประสาน อัตราส่วนผสมผักตบชวา: ตัวประสาน 0:1, 1:9, 2:8, 3:7, 4:6, 5:5, 6:4, 7:3, 8:2, 9:1 และ 1:0 โดยน้ำหนัก โดยผักตบชวามีธาตุไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) เท่ากับ 0.51+0.01, 0.15+0.01และ 6.25+0.18 % จากการศึกษาพบว่ากระถางชีวภาพที่ใช้ตัวประสานแป้งมันสำปะหลังขึ้นรูปได้ที่อัตราส่วน 4:6, 5:5, 6:4, 7:3 และ 8:2 ส่วนตัวประสานกากมันสำปะหลังขึ้นรูปได้ที่อัตราส่วน 4:6, 5:5, 6:4 และ 7:3 ซึ่งทั้งหมดมีสภาพสมบูรณ์ ไม่บวมหรือหดตัว โดยกระถางชีวภาพผักตบชวา : แป้งมันสำปะหลังอัตราส่วน 5:5 มีค่ารับแรงอัดสูงสุดที่ 0.81 เมกะปาสกาล ในขณะที่ผักตบชวาและกากมันสำปะหลังในอัตราส่วน 5:5 มีค่า 0.41 เมกะปาสกาล ไม่พบการสลายตัวไปกับน้ำเมื่อทดสอบค่าการอุ้มน้ำในกระถางชีวภาพ ผักตบชวา : แป้งมันสำปะหลังที่อัตราส่วน 4:6, 5:5 และ 6:4 เช่นเดียวกับกระถางชีวภาพ ผักตบชวา : กากมันสำปะหลังที่อัตราส่วน 5:5 และ 6:4 นอกจากนี้พบว่าความพรุนของกระถางชีวภาพที่อัตราส่วน 6:4 ทั้ง กระถางชีวภาพผักตบชวา : แป้งมันสำปะหลัง และ กระถางชีวภาพผักตบชวา : กากมันสำปะหลังมีค่าสูงสุดที่ 85.7 % และ 83.8 %ตามลำดับ ดังนั้นกระถางชีวภาพทั้ง 2 ชนิด ที่อัตราส่วน 5:5 และ 6:4 มีความเหมาะสมต่อการขึ้นรูปนำไปใช้งาน เมื่อศึกษาการเสื่อมสภาพด้วยการปลูกผักชีเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบร่องรอยการเสื่อมสภาพในกระถางชีวภาพตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 เป็นต้นไปและเสียรูปทรงในสัปดาห์ที่ 7 เมื่อพิจารณาถึงคุณสมบัติทางกลแล้ว ผักตบชวาที่มีตัวประสานทั้ง 2 ชนิด ในอัตราส่วน 5:5 และ 6:4 สามารถนำมาใช้ในการปลูกได้จริง
References
สุธีรา ชูบัณฑิต. ผักตบชวา ปัญหาระดับชาติกฎหมายกำจัดผักตบชวา. [อินเตอร์เน็ต]. 2021 [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://61.19.241.96/w3c/senate/pictures/content/file_1408435896.pdf
ศุภฤกษ์ ดวงขวัญ. การจัดการผักตบชวา. [อินเตอร์เน็ต]. 2021 [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก:
http://reo06.mnre.go.th/home/images/upload/file/report/work2554/supareak01.pdf
อาภรณ์ ส่งแสง, อัจฉรัตน์ สุวรรณภักดี. การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ทรัพยากรชีวภาพในทะเลน้อยเพื่อการเลี้ยง สัตว์: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2548,มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา; 2548.
กิตติยา ป้อมเงิน, ประภา โซ๊ะสลาม, รัชพล พะวงศ์รัตน์. การผลิตแก๊สชีวภาพจากผักตบชวาที่ผ่านการปรับสภาพด้วย การนึ่งร่วมกับมูลวัวโดยกระบวนการหมักแบบกะ.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2559;8(3):76-86.
ประไพพรรณ จันทร์ทิพย์. การทำปุ๋ยหมักผักตบชวาร่วมกับกากตะกอนส่วนเกินจากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานน้ำ ยางข้นและกากตะกอนจากโรงงานยางแท่ง STR 20. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ สิ่งแวดล้อม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์. สงขลา; 2559.
นิพนธ์ ตันไพบูลย์กุล, ธรพร บุศย์น้ำเพชร. ลักษณะการขึ้นรูปและตัวประสานที่แตกต่างกันต่อสมบัติของเชื้อเพลิงที่ ผลิตจากผักตบชวา. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University 2559;3(6):86-100.
สิริสุดา หนูทิมทอง, สมพจน์ กรรณนุช, วิวัฒน์ ศัลยกําธร, ธวัชชัย ศุภดิษฐ์. ประสิทธิภาพการบําบัดน้ำเสียด้วยวิธี ธรรมชาติบําบัด กรณีศึกษา ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม 2552;5(2):74-88.
ธนกรณ์ ศิริสุขโภคา. การศึกษาวิเคราะห์ผลิคภัณฑ์เครื่องจักสานผักตบชวา กรณีศึกษา ตำบลไทรงาม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ; 2555.
บรรยงต์ แบบประเสริฐ, นงลักษณ์ บรรยงวิจัย. การผลิตกระถางผักตบชวา. [อินเตอร์เน็ต]. 2021 [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://lib3.dss.go.th/fulltext/Vichakran/vichakran_rd_0011.pdf
กรมพัฒนาที่ดิน. คู่มือการปฏิบัติงาน กระบวนการวิเคราะห์พืช ปุ๋ย และสิ่งปรับปรุงดิน. [อินเตอร์เน็ต]. 2020 [เข้าถึง เมื่อ 15 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ldd.go.th/PMQA/2553/Manual/OSD-07.pdf
Wang X, Lu S, Gao C, Xu X, Wei Y, Bai X, et al. Biomass-based multifunctional fertilizer system featuring controlled-release nutrient, water-retention and amelioration of soil. RSC Advances 2014;4:18382-90.
ปทุมทิพย์ ต้นทับทิมทอง, มาริสา จินะดิษฐ์, วราภรณ์ ธนะกูลรังสรรค์, สุรัตน์ บุญพึ่ง, จิรพล กลิ่นบุญ, ไชยยันต์ ไชยยะ,
และคณะ. กระถางต้นไม้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2548, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ; 2548.
สุทธีพลรักษา, จินดาวัลย์วิบูลย์อุทัย, ธวัชชัยเนียรวิฑูรย์. การทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาผสมมูลวัวโดยใช้สารเร่งชีวภาพ. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม 2553;6(1):97-108.
สุกัญญา จัตตุพรพงษ์, วราพันธุ์ จินตณวิชญ์. การใช้ประโยชน์เศษเหลือจากมันสำปะหลัง. [อินเตอร์เน็ต]. 2020 [เข้าถึง เมื่อ 15 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https:// www.tapiocathai.org/Brochure/c_2.pdf
วาสนา ยอดปรางค์. ผลของการให้ธาตุอาหารรองและจุลธาตุทางใบในรูปของคีเลตกรดอะมิโน ต่อการดูดใช้ธาตุอาหาร การเจริญเติบโตและผลผลิตของพริก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา; 2553.
Schettini E, Santagata G, Malinconico M, Immirzi B, Mugnozza S, Vox G. Recycled wastes of tomato and hemp fibres for biodegradable pots: Physico-chemical characterization and field performance. Resour Conserv Recycl 2013;70:9-19.
วรรณวิภา ไชยชาญ, อเนก สาวะอินทร์. การผลิตและสมบัติของกระถางเพาะชำชีวภาพจากกากกาแฟผสมปูนขาวจาก เปลือกหอย. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 28 วันที่ 8-9 พฤษภาคม 2561. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง; 2561.หน้า 49-60.
กิตติชัย โสพันนา, วิชชุดา ภาโสม, กนกวรรณ วรดง, อนันตสิทธิ์ ไชยวังราช. การประดิษฐ์และสมบัติของกระถาง ชีวภาพ. SNRU J Sci Tech 2558;7(2):1-7.
พินทุม รุ่งทองศรี, สุชานันท์ สิริอัจฉรานนท์. เครื่องอัดกระถางผักตบชวาระบบไฮดรอลิก. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรม ศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นครปฐม; 2556.
Jirapornvaree I, Suppadit T, Popan A. Use of Pineapple Waste for Production of Decomposable Pots. Int J Recycl Org Waste Agric 2017;6(4):345-50.
เจนจิรา ทวีตั้งตระกูล, พัชรี ยังดี. กระถางชีวภาพจากผักตบชวา. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชา วิศวกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นครปฐม; 2554.
สาธินี ศิริวัฒน์, ชาญวิทย์ โฆษิตานนท์, ธนาวดี ลี้จากภัย. การย่อยสลายทางชีวภาพของบรรจุภัณฑ์ชนิดพอลิแลคติก แอซิดและเยื่อชานอ้อย. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 2553;3(2):1-8.
Wijesinghe J, Wicramasinghe I, Saranandha K.Effect of different modification methods on
gelatinization properties and amylose content of kithul (Caryotaurens) flour. Pak J Nutr 2016;15(4):312-8.
สุทธิษา ก้อนเรือง, การะเกด แก้วใหญ่, ธวัฒน์ชัย เทพนวล, มาริสา เชษฐวรรณสิทธิ์. การผลิตพลาสติกย่อยสลายได้
ทางชีวภาพจากเส้นใยต้นสาคู. Tsu J 2020;23(2):65-73.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ