การพัฒนารูปแบบกลไกและระบบการคัดกรองผู้ประกอบวิชาชีพครูตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาภา ยืนยาว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรรณี สุจจิตร์จูล
ดร.ธีรวุธ ธาดาตันติโชค
ดร.ณัฐวรรณ พุ่มดียิ่ง
พนม จองเฉลิมชัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบกลไกและระบบการคัดกรองผู้ประกอบวิชาชีพครูตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา ผู้ให้ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และเทคนิคเดลฟาย รวมจำนวน 43 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ให้ข้อมูลโดยตอบแบบสอบถาม รวมทั้งสิ้น 793 คน ประกอบด้วยบุคลากรจากสถาบันการผลิตครู จากหน่วยงานใช้ครู ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในสถานศึกษา และผู้ร่วมประชุมสัมมนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหามัธยฐาน พิสัยควอไทล์ ค่าร้อยละ ค่าฐานนิยม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แบบอุปนัย


        ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบกลไกและระบบการคัดกรองผู้ประกอบวิชาชีพครูตามมาตรฐานวิชาชีพของ
คุรุสภา ประกอบด้วย 1. กลไกและระบบการผลิตครู มี 4 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานการคัดเลือก มาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิต และ มาตรฐานบัณฑิต 2. กลไกและระบบการใช้ครู มี 4 ประเด็น ได้แก่ กระบวนการสรรหา บรรจุ และแต่งตั้งครู  ประเภทของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู การเลื่อนวิทยฐานะของครู และการกำหนดสมรรถนะของผู้สอน และ 3. กลไกและระบบการพัฒนาครู มี 2 แนวทาง ได้แก่ แนวทางการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และ แนวทางการพัฒนาครู  ส่วนแนวทางในการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเฉพาะทาง สามารถทำได้ 2 แนวทาง คือ 1) ผู้ประกอบวิชาชีพครูที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเฉพาะทาง และ 2) ผู้ประกอบวิชาชีพครูไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเฉพาะทาง


Abstract


          The main purposes of this research were to develop the mechanism and system model of professional teacher recruitment based on the Teachers’ Council of Thailand Professional Standards; and to propose the guidelines for issuing specialized professional licenses. Data were obtained through interview, focus group discussion, and Delphi technique from 43 individual consisted of administrator, personnel of the Secretariat Office of the Teachers’ Council, experts and academics. A questionnaire was used to collect data from 793 respondents consisted of respondents from teacher production institutions, teacher employment units, educational institutions, and seminar. The research instruments were an interview form and a 5-rating scale questionnaire. Data were analyzed with median, quartile, percentage, mode, mean, standard deviation, and inductive analysis.


          The results revealed that the mechanism and system model of professional teacher recruitment based on the Teachers’ Council of Thailand Professional Standards comprised of: 1) The teacher production mechanism and system contained 4 standards, i.e. student recruitment standards, curriculum standards, production standards, and graduate standards; 2) The mechanism and system of teacher employment consisted of 4 aspects, i.e. process in recruiting, appointing and promoting, types of teaching licenses, promotion of teacher academic position, and specification of teacher competencies; and 3) The mechanism and system of teacher development consisted of 2 guidelines, i.e. guidelines for renewal of teacher professional licenses, and guidelines for teacher development. Regarding the guidelines for issuing specialized professional licenses, there are 2 approaches proposed as follows: 1) teacher professionals who require a specialized professional license; and 2) teacher professionals who do not require a professional license.

Article Details

How to Cite
ยืนยาว ผ. ด., สุจจิตร์จูล ผ., ธาดาตันติโชค ด., พุ่มดียิ่ง ด., & จองเฉลิมชัย พ. (2020). การพัฒนารูปแบบกลไกและระบบการคัดกรองผู้ประกอบวิชาชีพครูตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 11–26. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/241758
บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมพร วังศรีคูณ และคณะ. (2562, มกราคม-มิถุนายน). การสังเคราะห์กระบวนการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 9 (1), หน้า 75-86.

ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

ณัฐมน พันธุ์ชาตรี. (2559). การสร้างเสริมคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ราชกิจจานุเบกษา. (2540). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. เล่ม 114 ตอนที่ 55ก, 11 ตุลาคม 2540, หน้า 1-99.

ฤตินันท์ สมุทร์ทัย. (2556). การวิจัยนำร่องการพัฒนาหลักสูตรการผลิตครูสำหรับศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน และคณะ. (ม.ป.ป.) รายงานการวิจัยเอกสาร: ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.