การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านวังจาน

Main Article Content

ธนกฤต อั้งน้อย

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลและเพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยมีกระบวนการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผล โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบและตรวจสอบรูปแบบ โดยการสังเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ และการศึกษาเอกสารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ผู้ตรวจสอบรูปแบบคือครูโรงเรียนบ้านวังจาน จำนวน 5 คน โดยการประชุม เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของการนำไปปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 3 นำรูปแบบไปทดลองใช้ ระยะเวลา 1 ปีการศึกษา เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือรายงานกิจกรรม และรายงานโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผล มีผลดังนี้ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยครูที่ปรึกษาควรมีจิตวิทยาในการสร้างความคุ้นเคยกับนักเรียน โรงเรียนควรมีวิธีการที่หลากหลายในการทำความรู้จักนักเรียน และครูที่ปรึกษาควรมีแผนในการส่งเสริมนักเรียนแต่ละคน ด้านการคัดกรองนักเรียน โดยการจัดกลุ่มนักเรียน ด้านการเรียน พฤติกรรม สุขภาพ จำแนกนักเรียนความสามารถพิเศษ และจำแนกกลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา เป็นรายกรณี ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาตามความถนัดและความสนใจของนักเรียน และจัดกลุ่มครูที่มีความสามารถพิเศษเพื่อพัฒนานักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไข โดยการมีส่วนร่วม ทั้งครู และผู้ปกครอง จัดกิจกรรมป้องกัน และการดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นขั้นตอน ด้านการส่งต่อนักเรียน โดยกำหนดวิธีการและขั้นตอนการดำเนินการส่งต่อภายในจากครูที่ปรึกษา ไปยังหัวหน้างาน หรือผู้บริหารและส่งต่อภายนอกโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือหน่วยงานอื่น


          ผลการพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกันและแก้ไข การส่งต่อนักเรียน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยยึดหลัก ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมมือ ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบต่อนักเรียนโดย และการศึกษารายกรณี ซึ่งดำเนินการโดยศึกษา บริบทนักเรียน ประกอบด้วย ข้อมูลครอบครัว เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมรอบตัว และ ตัวตนนักเรียน ประกอบด้วย ความสามารถพิเศษ ความชอบ พฤติกรรม และทัศนคติ โดยรูปแบบมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
อั้งน้อย ธ. (2020). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านวังจาน. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(3), 31–43. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/242556
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 3. (2561). คู่มือการ
ดำเนินงานเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน.
ชวลิต ชูกำแพง. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครู. วารสารการวัดผลการศึกษา. มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.ปีที่ 23 ฉบับที่ 2. หน้า 1-6.
นิตยา คะเนนิล และวาโร เพ็งสวัสดิ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2. หน้า 348-360.
ปรมาภรณ์ สนธิ. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษาของ
โรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ภูษณิศา คารวพงศ์ และไสว ฟักขาว. (2558). สภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียน ของครูในโรงเรียนสำนักงานเขตสายไหม สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. ปีที่ 11 ฉบับที่ 3. หน้า 86-94.
มยุรี สารีบุตร และ อุทัย ภิรมย์รื่น. (2560). ปัจจัยความสำเร็จของการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีผลต่อ
คุณภาพนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย.ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม –ธันวาคม 2560). หน้า 289-303.
ยาใจ พงษ์บริบูรณ์. (2553). การศึกษาแบบกรณีศึกษา : Case Study. วารสารศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 33 ฉบับที่ 4. หน้า 42-50.
ลัดดาวัลย์ เพชรจันทร์. (2559). ปัญหาและแนวทางพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูโรงเรียน
บ้านปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อน
กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) "ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ" สู่สถานศึกษา.