การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีภาพโฮโลแกรมและบอร์ดเกมสำหรับการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ รายวิชาการพัฒนาเว็บด้วยภาษา PHP สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ

Main Article Content

อนันต์ชัย ชุติภาสเจริญ
สุรเดช ครุฑจ้อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) รูปแบบการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีภาพโฮโลแกรมและบอร์ดเกมสำหรับการศึกษาโดยใช้การเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ และผลการวิเคราะห์แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (2) เพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องมือตามเกณฑ์ของเมกุยแกนส์ (3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน     การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพตามเกณฑ์เมกุยแกนส์ และการทดสอบค่าที


          ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ (1) ผลการวิเคราะห์แบบประเมินที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีภาพโฮโลแกรมและบอร์ดเกมสำหรับการศึกษา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (2) ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีภาพโฮโลแกรมและบอร์ดเกมสำหรับการศึกษา โดยใช้การเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 1.3 ผ่านเกณฑ์ (3) นักเรียนที่เรียนผ่านแอปพลิเคชัน โดยใช้เรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีภาพโฮโลแกรมและบอร์ดเกมสำหรับการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับมาก 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แซ่เชี่ย, ธีรภาพ, เอกวัจน์ เชาว์วิชารัตน์, และ วิชัยดิษฐ สิทธิชัย. 2018. การใช้บอร์ดเกมประเภทวางแผนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่3ในโรงเรียนขนาดใหญ่สังกัดสำนักงานเขตการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดปทุมธานี. รายงานการประชุม วิชาการ เสนอ ผล งาน วิจัย ระดับ ชาติ และ นานาชาติ 1(9):720–731.
ตันติธีระศักดิ์, สุพิชชา, และ ศิวนิต อรรถวุฒิกุล. 2016. ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts) 9(3):1081–1093.
ศรีสุพจนานนท์, สุนิพันธ์, และ ปวัฒวงศ์ บำรุงขันท์. 2017. การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ในการเขียนโปรแกรมงานระบบอุตสาหกรรมและงานคลังสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยการสอนบน Padlet. Vocational Education Innovation and Research Journal 1(2):61–66.
สมยาโรน, วิลาวัลย์. 2020. ผลการใช้สื่อการเรียนรู้มัลติมีเดียเพื่อสร้างจิตลักษณะด้านความสำนึกการอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชพรรณธรรมชาติของชุมชนบ้านแม่กาจังหวัดพะเยาโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีมหาวิทยาลัยพะเยา. Journal of Roi Et Rajabhat University 14(2):176–181.
เสือแพร, กิตติ, มีชัย โลหะการ, และ ปณิตา วรรณพิรุณ. 2016. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบปรับเหมาะร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดคำนวณและทักษะการเขียนโปรแกรมสำหรับนักศึกษาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University 10(3):1–13.
โสเพ็ง, วิจิตรา. 2019. การศึกษาเจตคติและความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษโดยใช้บัญชีคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. Journal of Faculty of Education Pibulsongkram Rajabhat University 6(1):77–87.
Popovich, Milan M., Jonathan D. Waldern, and John J. Storey. 2001. Holographic Projection System. Google Patents.
Slavin, Robert E. 1980. Cooperative Learning. Review of Educational Research 50(2):315–342.