รูปแบบการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 THE STUDENTS INTERVENTION SYSTEM MODEL FOR MATHAYOMSUKSA 6 STUDENTS OF RACHINEEBURANA SCHOOL DURING CORONAVIRUS DISEASE 2019 (COVID-19) EPIDEMIC

Main Article Content

เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล
มนต์เมืองใต้ รอดอยู่

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการจัดระบบดูแลช่วยเหลือ และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และกลุ่มที่ศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 494 คน ในปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบประเมินความเหมาะสม ความสอดคล้องเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ และคุณประโยชน์ แบบบันทึกจำนวนนักเรียนที่ติดเชื้อ COVID-19 แบบสัมภาษณ์นักเรียนกลุ่มเสี่ยง และแบบบันทึกการเข้าเรียนออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


         ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย 1.1) ความสำคัญ 1.2) หลักการ ชื่อว่า “SPRING” จำนวน 6 ประการ คือ ไม่มีนักเรียนคนใดถูกทอดทิ้ง (S) ยึดความสามารถของบุคลากรเป็นหลัก (P) การทำงานอย่างรวดเร็ว (R) การดำเนินงานบนเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต (I) การให้คำปรึกษาแบบไม่นำทาง (N) และการได้รับโอกาสทางการศึกษา (G) 1.3) วัตถุประสงค์ 1.4) กระบวนการ ชื่อว่า “ERASH” ได้แก่ กิจกรรมวิจัยเชิงประเมิน (E) กิจกรรมคัดกรองความเสี่ยง (R) กิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำ (A) กิจกรรมส่งเสริมและดูแลช่วยเหลือนักเรียน (S) และกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน (H) และ 1.5) การวัดและประเมินผล และ 2) ตลอดปีการศึกษา 2563 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนปลอดการติดเชื้อ COVID-19 และจำนวนนักเรียนที่สามารถเข้าเรียนออนไลน์ได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2563). มาตรการและแนวทางการดำเนินการเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/ viralpneumonia/im _commands.php
ณัฐวุฒิ รัตนอรุณ. (2564). รูปแบบการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้วยกิจกรรมคู่สัญญาของโรงเรียนคีรีราษฎร์พัฒนา. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 2(1): 102-115.
ทิวัตถ์ มณีโชติ. (2560). “สถิติ” กับ “การวิจัยชั้นเรียน”. ในเอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2560 เรื่อง ครูยุคใหม่ สร้างเด็กไทย 4.0. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
ธนกฤต อั้งน้อย. (2563). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านวังจาน. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 1(3): 31-43.
พระครูสังฆรักษ์สิงห์ชัย ฐิตธมฺโม, พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ และวรกฤต เถื่อนช้าง. (2563). การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(2): 143-154
มนต์เมืองใต้ รอดอยู่. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้และการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม. วารสารครุสีมา, 4(1): 30-47.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2554). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล, วรกมล วงศธรบุญรัศมิ์, ณัฐกานต์ โรจนพรประสิทธิ์, กันต์กมล หินทอง, พรรณนิภา สนิทดี, ธีรนาฏ เมตตาสุธารส และมนต์เมืองใต้ รอดอยู่. (2563). การประเมินการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ โดยใช้การประเมินแบบเร่งด่วน. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 4(2): 30-45.
เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล, อุไรรัตน์ เอี่ยมสอาด, นิตยา สิงห์ทอง, ขวัญฤดี ไพบูลย์, ชุติมา แช่มแก้ว, ปิยธิดา แจ่มสว่าง, กาญจน์ ศรีสวัสดิ์ และมนต์เมืองใต้ รอดอยู่. (2564). การปรับตัวของนักเรียนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 12(1): 212-228.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2559). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนะ บัวสนธ์. (2562). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(4): 2-15.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2560). การบริหารการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์, 28(2): 36-49.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
อมร ลีลารัศมี. (2563). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ COVID-19 จากโรคติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563, จาก https://tmc.or.th/pdf/Covid-19-MD-AmornUpdate.pdf
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2562). การวิจัยทางการศึกษา: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Best, J. W. (1986). Research in education. New Jersey: Prentice Hall, Inc.
Lunenburg, F. C., & Ornstein, A. C. (2000). Educational administration: concepts and practions. Belmart: Wadsworth/Thomson learning.
Wiseman, L & McKeown, G. (2012). Multipliers. Retrieved September 28, 2021, from https:// static1.squarespace.com/static/5df3bc9a62ff3e45ae9d2b06/t/5e384cdc8f9eda1817038571/1580747999773/Mulipliers.Wiseman+et+al.EBS.pdf