ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ The Effects of Learning Management of Inquiry Cycle (5Es) Learning and Student Teams Achievement Division towards Learning Achievement and Analytical Thinking Abilities of Primary 6 Students, Anubanburiram School

Main Article Content

ฑิตฐิตา รัตนวรรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง รู้รักษ์หินถิ่นภูเขาไฟกระโดงและการเปลี่ยนแปลงของโลก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 81 คน ถูกแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง จำนวน 41 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD เรื่อง รู้รักษ์หินถิ่นภูเขาไฟกระโดงและการเปลี่ยนแปลงของโลก จำนวน 15 แผน ข้อมูลที่ได้จะถูกวิเคราะห์ด้วยค่าทางสถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
รัตนวรรณ์ ฑ. (2022). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์: The Effects of Learning Management of Inquiry Cycle (5Es) Learning and Student Teams Achievement Division towards Learning Achievement and Analytical Thinking Abilities of Primary 6 Students, Anubanburiram School. คุรุสภาวิทยาจารย์, 3(1), 37–49. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/245743
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ทิพย์รัตน์ มังกรทอง. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยาด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 8 (1). มกราคม - เมษายน.
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธา.
นุรไอนี ดือรานะ. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อการจัดกาเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์. (2562). รายงานประจำปี 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2562. จาก http://www.abr.ac.th/mainpage.
วรารัตน์ กาแปง. (2559). สรุปความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2562. สืบค้นจาก https://wbscport.dusit.ac.th/view/view.php?id=114753
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2562 จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). 36 ปี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554). รายงานการประเมินผลตามคำรับรองการปฏิบัติงาน. . สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2562. จาก https://po.opdc.go.th
/content/MTA0
สุกัญญา ศรีสืบสาย. (2554). สอนเด็กในรักการอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.
อาตีเก๊าะห์ บาโง. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้การสืบพันธุ์ของพืชของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การประชุมวิชาการระดับชาติ การเรียนรู้เชิงรุก ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Integrated Reading and Composition. Menlo Park, CA : Addison-Wesley.