แนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานผ่านรูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้โรงเรียนและชุมชนเป็นฐานสู่การพัฒนาสมรรถนะแก่ผู้เรียนอย่างยั่งยืน Guidelines on Organizing Project Learning Activities Through a Model of Creative Problems Solving Using Schools and Communities as a Base for Sustainable Development of Learners’ Competencies.
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการศึกษาของประเทศที่ผ่านมา ตามสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันสะท้อนให้ เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ยังคงใช้วิธีการเรียนการสอน ที่เน้นการบรรยาย การจดบันทึก มุ่งเน้นการให้ ความรู้รายละเอียดเนื้อหาสาระทางวิชาการในเวลาอันรวดเร็วผู้เรียนไม่ได้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง ขาดการคิด วิเคราะห์และการประเมินผลการเรียนรู้ ส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญในเรื่องของคะแนน (นิภาพรรณ เจนสันติกุล, 2554) ขาดการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ Journal of Education, Mahasarakham University 147 Volume 15 Number 1 January-March 2021 รับประสบการณ์จริงจากการปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้อง กับแนวคิดของวิจารณ์ พานิช (2555) ที่กล่าวถึง การจัดการเรียนรู้ไม่ได้มุ่งเน้นให้นักเรียนมี ปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยเกรงว่าจะทำ ให้เสียเวลา และสอนเนื้อหาไม่ทันตามหลักสูตร ผลทำให้ผู้เรียนไม่เห็นความสัมพันธ์ของวิชาที่เรียนกับโลกของความจริง และเห็นประโยชน์ของสิ่งที่เรียน ในการจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้งนอกเหนือจาก ความรู้ในเนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับแล้ว ผู้สอนยังต้องคำนึงถึงทักษะและความสามารถของ ผู้เรียนที่พึงจะได้รับและนำความสามารถนั้นไป ใช้ได้ในชีวิตประจำ วันอีกด้วยอาจกล่าวได้ว่าการเรียนการสอนในปัจจุบันไม่ได้เน้นความรู้ใน เนื้อหาวิชาเพียงอย่างเดียวเช่นอดีตแต่ยังต้องการ ให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะและคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของ โลกที่เป็นไปอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือเทคโนโลยีก็ตาม ดังนั้นในปัจจุบัน ผู้เรียนจึงต้องการทักษะใหม่ๆ เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต จึงมีความจำ เป็นอย่างยิ่งที่การศึกษาจะมุ่งเน้น ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เกิดทักษะที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ในโลกที่เกิด การเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ดังเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการ ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมใน การดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ความสุข และได้กำหนดแนวการจัดการศึกษาไว้ ในหมวด 4 มาตรา 22 ว่าการจัดการศึกษาต้อง ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความ
สำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริม ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็ม ตามศักยภาพ และมาตรา 24 ระบุว่าการจัด กระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรม ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้ มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติ คิดเป็น ทำ เป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่าง ต่อเนื่อง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะนำ ไปสู่ ความสำเร็จดังเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและนโยบายการจัดการเรียนการสอนของครูจึงจำ เป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการและเทคนิคการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ โครงงานเป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนา ทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่อยู่ในสังคมของแหล่งข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย และทันสมัยรวมถึงสามารถนำ ความรู้มาประยุกต์ ใช้กับชีวิตจริงได้และสามารถปฏิรูปผู้เรียนยุคใหม่ ในสังคมไทยให้รู้จักสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนที่เรียกว่า การศึกษาตลอดชีวิต (Life-long education) (ลัดดา ศิลา น้อย,& อังคณา ตุงคะสมิต,2553) การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตั้งอยู่บนพื้นฐาน ความเชื่อและหลักการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ คือเชื่อมั่นในศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนภาย ใต้หลักการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ จึง กล่าวได้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจชุมชน ท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากข้อมูลที่เกี่ยวข้องคาดว่าการ พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์จะ ช่วยในการคิดหัวข้อเรื่องโครงงานได้ดีเนื่องจาก เป็นวิธีการที่มีขั้นตอนเป็นความคิดขั้นสูงก่อให้ เกิดสิ่งแปลกใหม่ ดังแนวคิดของเกรียงศักดิ์ เจริญ วงศ์ศักดิ์ (2556) เกี่ยวกับทักษะการแก้ปัญหาว่า “ทักษะการแก้ปัญหาเป็นสิ่งจำ เป็นที่ต้องสร้างให้ เกิดขึ้นในเด็กและเยาวชนไทยเพื่อสามารถเผชิญ ปัญหาต่างๆ ได้มิใช่เพิกเฉยต่อปัญหา หนีปัญหา หรือแก้ปัญหาด้วยวิธีการไม่เหมาะสมจนเกิดผล เสียต่อตนเองหรือส่วนรวมได้และอาจพัฒนา เด็กและเยาวชนให้มีความสามารถแก้ปัญหาและ พัฒนาสังคมส่วนรวมได้” ดังนั้นในสภาพสังคมที่ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลามีสถานการณ์และ ปัญหาใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน ผู้เรียนจึงควรมีทักษะ ในการแก้ปัญหาและการแก้ปัญหานั้นควรเป็นการ แก้ปัญหาที่เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดปัญหา อื่นๆ ตามมา หลัการทรงงานของพ่อหลวง รัชกาลที่๙ ถือว่าเป็นคัมภีร์อันล้ำค่า ที่สามารถปรับใช้ได้ กับทุกยุค ทุกสมัย จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการปลูกฝังความคิดความสามารถในการแก้ ปัญหา เพื่อให้เกิดแนวทางที่จะสามารถนำ ไปใช้ ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
สำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริม ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็ม ตามศักยภาพ และมาตรา 24 ระบุว่าการจัด กระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรม ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้ มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติ คิดเป็น ทำ เป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่าง ต่อเนื่อง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะนำ ไปสู่ ความสำเร็จดังเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและนโยบายการจัดการเรียนการสอนของครูจึงจำ เป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการและเทคนิคการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ โครงงานเป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนา ทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่อยู่ในสังคมของแหล่งข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย และทันสมัยรวมถึงสามารถนำ ความรู้มาประยุกต์ ใช้กับชีวิตจริงได้และสามารถปฏิรูปผู้เรียนยุคใหม่ ในสังคมไทยให้รู้จักสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนที่เรียกว่า การศึกษาตลอดชีวิต (Life-long education) (ลัดดา ศิลา น้อย,& อังคณา ตุงคะสมิต,2553) การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตั้งอยู่บนพื้นฐาน ความเชื่อและหลักการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ คือเชื่อมั่นในศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนภาย ใต้หลักการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ จึง กล่าวได้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจชุมชน ท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากข้อมูลที่เกี่ยวข้องคาดว่าการ พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์จะ ช่วยในการคิดหัวข้อเรื่องโครงงานได้ดีเนื่องจาก เป็นวิธีการที่มีขั้นตอนเป็นความคิดขั้นสูงก่อให้ เกิดสิ่งแปลกใหม่ ดังแนวคิดของเกรียงศักดิ์ เจริญ วงศ์ศักดิ์ (2556) เกี่ยวกับทักษะการแก้ปัญหาว่า “ทักษะการแก้ปัญหาเป็นสิ่งจำ เป็นที่ต้องสร้างให้ เกิดขึ้นในเด็กและเยาวชนไทยเพื่อสามารถเผชิญ ปัญหาต่างๆ ได้มิใช่เพิกเฉยต่อปัญหา หนีปัญหา หรือแก้ปัญหาด้วยวิธีการไม่เหมาะสมจนเกิดผล เสียต่อตนเองหรือส่วนรวมได้และอาจพัฒนา เด็กและเยาวชนให้มีความสามารถแก้ปัญหาและ พัฒนาสังคมส่วนรวมได้” ดังนั้นในสภาพสังคมที่ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลามีสถานการณ์และ ปัญหาใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน ผู้เรียนจึงควรมีทักษะ ในการแก้ปัญหาและการแก้ปัญหานั้นควรเป็นการ แก้ปัญหาที่เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดปัญหา อื่นๆ ตามมา หลัการทรงงานของพ่อหลวง รัชกาลที่๙ ถือว่าเป็นคัมภีร์อันล้ำค่า ที่สามารถปรับใช้ได้ กับทุกยุค ทุกสมัย จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการปลูกฝังความคิดความสามารถในการแก้ ปัญหา เพื่อให้เกิดแนวทางที่จะสามารถนำ ไปใช้ ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิชาการ
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น