การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเขียนอย่างสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย The development of a creative writing experience organizing model for early childhood.

Main Article Content

รัศมี อ่วมน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ดำเนินการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)  4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การวิจัย (Research : R) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การพัฒนา (Development : D) เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพรูปแบบการจัดประสบการณ์การเขียนอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย  ขั้นที่ 3 การวิจัย (Research : R) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเขียนอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย  ใช้การวิจัยแบบ กลุ่มเดียว (One Group Pretest–Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยที่มีอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบ้านวังหันน้ำดึง โดยการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการจับฉลาก จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ รูปแบบการจัดประสบการณ์การเขียนอย่างสร้างสรรค์และแบบประเมินความสามารถด้านการเขียน ขั้นที่ 4 การพัฒนา (Development : D)  เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเขียนอย่างสร้างสรรค์ ดำเนินการจัดประสบการณ์สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน วันละ 60 นาที รวมทั้งสิ้น 15 ครั้ง 15 ชั่วโมง เมื่อสอนครบทำการทดสอบความสามารถในการสื่อสารของเด็กปฐมวัย นำผลมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (.) และทดสอบสมมติฐานแบบกลุ่มเดียวที่ไม่อิสระต่อกัน (One Sample t-test) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ  โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์การเขียนอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในระดับมาก สามรถพัฒนาความสามารถด้านการเขียนของเด็กปฐมวัยได้ ดังนี้


  1. ความสามารถด้านการเขียนของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเขียน อย่างสร้างสรรค์อยู่ในระดับดี

  2. ความสามารถด้านการเขียนของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเขียน อย่างสร้างสรรค์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย