สถานีตรวจวัดสภาพอากาศด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

Main Article Content

นายธารา ชาติสุวรรณ
วุฒิภัทร์ คูหาทอง
ศศิภา กันตา

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหามลพิษทางอากาศ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เกินค่ามาตรฐานส่งผลอันตรายต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยพื้นที่ที่ประสบปัญหา PM2.5 เกินค่ามาตรฐานส่วนมากจะเป็นพื้นที่ในเมืองที่มีการจราจรหนาแน่นและพื้นที่ที่โรงงานอุตสาหกรรมหนาแน่น โดยงานวิจัยนี้ทางคณะผู้จัดทำได้คิดค้นและศึกษาเกี่ยวกับปัญหา โดยการออกแบบและพัฒนาสถานีตรวจวัดสภาพอากาศด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เพื่อตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) อุณหภูมิ ความชื้นของอากาศ และปริมาณน้ำฝน โดยใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดร่วมกับการประมวลผลของไมโครคอมพิวเตอร์ ในงานวิจัยนี้ใช้เป็น Raspberry Pi ส่งข้อมูลไปยังเครื่องแม่ข่ายเพื่อจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลออกทางหน้าจอ ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ทำให้สามารถทราบผลการตรวจวัดสภาพอากาศได้อย่างเรียลไทม์และยังมีการเก็บข้อมูลไว้ในระบบฐานข้อมูล (Database) สำหรับการเรียกข้อมูลย้อนหลัง เมื่อได้ชิ้นงานสถานีตรวจวัดสภาพอากาศด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งนำไปติดตั้งที่จุดตรวจวัดอำเภอมาบตาพุดและนำค่าที่ไว้ได้มาเปรียบเทียบความแม่นยำกับข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ (ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่ จ.ระยอง) เป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 20 – 22 พฤษภาคม 2564 นำข้อมูลที่ได้หาเปอร์เซ็นต์ความแม่นยำของสถานีตรวจวัดสภาพอากาศด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งได้ที่ 98.40 – 99.30 % และผลจากการทดสอบการทำงานของระบบพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่พึงพอใจมากที่สุด ( X = 4.73)

Article Details

How to Cite
[1]
ชาติสุวรรณ น. ., คูหาทอง ว. . ., และ กันตา ศ., “สถานีตรวจวัดสภาพอากาศด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ”, JSCI-SBU, ปี 1, ฉบับที่ 2, น. 53–65, ส.ค. 2021.
บท
บทความวิจัย