ระบบสตาร์ทและติดตามรถจักรยานยนต์ด้วยสมาร์ทโฟน ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

Main Article Content

เอกรัตน์ สุขสุคนธ์
สันติ โสภาประดิษฐ์
สาธิต กระชั้น
ภาณุมาศ ธีระนาวี
ภิญญาพัชญ์ แก้วมณีรุ่งโรจน์

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันนี้ปัญหารถจักรยานยนต์ถูกขโมยเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการขโมยโดยยกรถจักรยานยนต์ไปทั้งคันหรือขโมยโดยการถอดชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถจักรยานยนต์ และปัญหาดังกล่าว สามารถป้องกันและแก้ไขได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ติดตั้งสัญญาณกันขโมย ใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการล็อก แต่ทว่าปัญหานี้ก็ยังคงไม่หมดไปจากสังคม ในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอการใช้สมาร์ทโฟนซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทุกคนต้องพกพาอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์ในการปกป้องรถจักรยานยนต์ โดยการออกแบบและการใช้กุญแจสตาร์ทรถจักรยานยนต์ เพราะหากใช้กุญแจบางครั้งผู้ขับขี่เองอาจจะลืมกุญแจเสียบไว้ที่รถจักรยานยนต์หรือกุญแจอาจจะหล่นหายไปอยู่ในมือของมิจฉาชีพได้ อีกทั้งยังสามารถค้นหาตำแหน่งของรถจักรยานยนต์ได้ จากการทดลองพบว่า 1) ปุ่ม On จากการทดสอบทั้งหมด 100 ครั้ง คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 100% 2) ปุ่ม Start จากการทดสอบทั้งหมด 100 ครั้ง คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 100% 3) ปุ่ม Stop จากการทดสอบทั้งหมด 100 ครั้ง คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 100% 4) ปุ่ม GPS จากการทดสอบทั้งหมด 100 ครั้ง คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 100% รวมทั้งการแสดงตำแหน่ง Latitude กับ Longitude ได้อย่างแม่นยำ 5) ปุ่ม Alarm จากการทดสอบทั้งหมด 100 ครั้ง คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 76% เนื่องจาก Vibration sensor ที่ใช้เป็นเพียงอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานในการทดลอง ผลการหาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบสตาร์ทและติดตามรถจักรยานยนต์ด้วยสมาร์ทโฟนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ค่าเฉลี่ยโดยรวมที่ได้อยู่ในเกณฑ์ดีมากเท่ากับ 4.68

Article Details

How to Cite
[1]
สุขสุคนธ์ เ. ., โสภาประดิษฐ์ ส. ., กระชั้น ส. ., ธีระนาวี ภ. ., และ แก้วมณีรุ่งโรจน์ ภ. ., “ระบบสตาร์ทและติดตามรถจักรยานยนต์ด้วยสมาร์ทโฟน ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง”, JSCI-SBU, ปี 1, ฉบับที่ 3, น. 17–29, ธ.ค. 2021.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Jie Liu, Bodhi Priyantha, Ted Hart, Yuzhe Jin, Woosuk Lee and Vijay Raghunathan, CO-GPS: Energy Efficient GPS Sensing with Cloud Offloading, IEEE Transactions on Mobile Computing, Vol. 15, No. 6, pp. 1348-1361, 2016.
[2] Guangcai Wang, Xiaosu Xu, Yiqing Yao and Jinwu Tong, A Novel BPNN-Based Method to Overcome the GPS Outages for INS/GPS System, IEEE Access, Vol. 7, pp. 82134-82143, 2019.
[3] Yuexin Zhang, A Fusion Methodology to Bridge GPS Outages for INS/GPS Integrated Navigation System, IEEE Access, Vol. 7, pp. 61296-61306, 2019.
[4 Budi Sujatmik, Nury Fitria, Dini Fathania, Argita D Salindri and Bachti Alisjahbana, Comparison of Accuracy Between Smartphone-GPS and Professional-GPS for Mapping Tuberculosis Patients in Bandung City (A Preliminary Study), International Conference on Instrumentation, Communications Information Technology and Biomedical Engineering, pp. 299-303, 2017.
[5] Kouhei Yoshida and Takatoshi Sugiyama, Calculated Distance Error Improvement by Using Drones in Relay Type GPS, International Conference on Information and Communication Technology Convergence, pp. 792-794, 2020.
[6] Tam Lam Mou, Wog Pak Kin, Wong Hang Cheong, Lao Hangyuan and Xie Zhengchao, A Case Study on Testing and Performance Evaluation of Electric Motorcycles to Discuss the Environmental Impact of Urban Area in Macao, International Conference on Intelligent System Design and Engineering Applications, pp. 9-12, 2013.
[7]Muhamad Asyraf Mat Hussin and Norliza Zaini, Android-Based motorcycle safety notification system, IEEE Conference on Systems, Process and Control, pp. 88-93, 2017.
[8] Achmad Mustofa Luthfi, Nyoman Karna and Ratna Mayasari, Google Maps API Implementation On IOT Platform For Tracking an Object Using GPS, IEEE Asia Pacific Conference on Wireless and Mobile, pp. 126-131, 2019.