การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้แนวคิด FMEA ในกระบวนการขึ้นรูปแม่พิมพ์ขวดพลาสติก กรณีศึกษาบริษัท GP

Main Article Content

โศจิรพักร์ บุตรคำโชติพร
วิชญุตร์ งามสะอาด
ประพันธ์ศักดิ์ บูรณะประภา
อำนวย แก้วใส

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียในกระบวนการเป่าขึ้นรูป In Mold Labelling เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและกำหนดมาตรการป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ และลดต้นทุนการผลิตของสินค้าที่เสียหายเพื่อเพิ่มศักยภาพของกระบวนการผลิต วิธีการดำเนินงานเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ Check Sheet และลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อดำเนินการแก้ไขโดยใช้กฎพาเรโต 80:20 และทำการแจกแจงสาเหตุของปัญหาด้วยแผนภาพสาเหตุและผล รวมถึงนำสาเหตุที่ได้ทำการวิเคราะห์สภาพของปัญหาโดยใช้เครื่องมือ FMEA และทำการประเมินโดยใช้ค่าความเสี่ยงชี้นำ RPN มากกว่า 100 คะแนน ทำการเสนอแนวทางในการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขและทำการประเมินอีกครั้งหลังการปรับปรุงเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาซ้ำได้อีก ผลการดำเนินงานพบว่าปัญหาฉลากพองเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน โดยดำเนินการแก้ไขทั้งหมด 3 สาเหตุ คือ 1.) อุณหภูมิในกระบอกสกรูและหัวไหลต่ำไป แก้ไขโดยปรับตั้งค่าอุณหภูมิกระบอกสกรูที่ 190°c, 195°c อุณภูมิหัวไหลปรับตั้งค่าที่ 215°c, 220°c 2.) รูดูดฉลากที่แม่พิมพ์ตันทำให้ระบายอากาศไม่ทัน แก้ไขโดยเพิ่มรูดูดฉลากเป็น 13 รู 3.) แรงลมเป่าไม่พอ แก้ไขโดยปรับตั้งค่าแรงลมเป่าอยู่ที่ 7-8 บาร์ โดยหลังการปรับปรุงพบว่าปริมาณของเสียสามารถลดลงได้ถึง 2,150 ชิ้นต่อเดือน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 91.88% สามารถลดมูลค่าความเสียหายต่อต้นทุนการผลิตได้ถึง 36,550 บาทต่อเดือน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 91.88% และหลังการปรับปรุงมีค่า RPN ลดลงถึง 271 คะแนน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 92.18% ส่งผลให้การควบคุมกระบวนการผลิตสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการการผลิตได้ สามารถลดต้นทุนสูญเปล่าและลดปริมาณของเสียในกระบวนการผลิตได้มากขึ้น

Article Details

How to Cite
[1]
บุตรคำโชติพร โ. ., งามสะอาด ว. ., บูรณะประภา ป. ., และ แก้วใส อ. ., “การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้แนวคิด FMEA ในกระบวนการขึ้นรูปแม่พิมพ์ขวดพลาสติก กรณีศึกษาบริษัท GP”, JSCI-SBU, ปี 1, ฉบับที่ 3, น. 30–44, ธ.ค. 2021.
บท
บทความวิจัย

References

[1] วันเฉลิม วรรณสถิตย์. (2559). เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด (7 QC Tools). สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2564, จาก
http://econs.co.th/index.php/2016/07/29/7-qc-tools/
[2] ปาริฉัตร สาน้อย. (2015). ออกแบบกระบวนการให้มีประสิทธิผลด้วย FMEA. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564, จาก
https://www.ftpi.or.th/2015/2277
[3] พงศ์ณฐ สำเร็จเฟื่องฟู (2560). การประยุกต์ FMEA ในการประเมินความเสี่ยงและปรับปรุงการผลิตของผู้ส่งมอบชิ้นส่วน.
ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา
[4] สืบพงษ์ มาลี (2554) การบริหารงานซ่อมบำรุงระบบภายในอาคารเชิงป้องกัน กรณีศึกษา: สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนา
เด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
ศิลปากร
[5] มนตรี บุญมาก (2560). การวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการฉีดหลอดพลาสติก โดยใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์
ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบด้านคุณภาพ FMEA. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี