การศึกษาแนวทางการออกแบบระบบเว็บไซต์เตือนภัยพื้นที่เสี่ยง (โควิด-19) จังหวัด ชลบุรี บทความวิจัย

Main Article Content

ทิพย์วรรณ รัตนธำรงพรรณ
สิริญา เรืองไชย
ศศิกานต์ สมพงษ์
กรรณิการ์ อินสองใจ

บทคัดย่อ

การจัดทำวิจัยนี้มีเพื่อศึกษาปัญหาการเตือนภัยพื้นที่เสี่ยง (โควิด-19) จังหวัด ชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบเว็บไซต์แจ้งเตือนภัยพื้นที่เสี่ยงกับโรคโคโรนาไวรัส  (Covid-19)  จังหวัด ชลบุรี 2)  กำหนดแนวทางการออกแบบระบบเว็บไซต์แจ้งเตือนภัยพื้นที่เสี่ยงกับโรคโคโรนาไวรัส (Covid-19) จังหวัด ชลบุรี 3) ประเมินความเหมาะสมของการออกแบบระบบเว็บไซต์แจ้งเตือนภัยพื้นที่เสี่ยงกับโรคโคโรนาไวรัส (Covid-19) จังหวัด ชลบุรี โดยใช้หลักการ พัฒนาระบบ System Development Life Cycle (SDLC)  ที่เป็นลำดับขั้นตอนในการใช้พัฒนาระบบ ซึ่งประกอบไปด้วย  1) การกำหนดปัญหา โดยการวิเคราะห์จากสถานการณ์ (Covid-19) ในปัจจุบัน 2) การวิเคราะห์ระบบ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วย แผนภาพบริบท และ แผนภาพกระแสไหลข้อมูล ระดับที่ 0  3) ออกแบบระบบ ระบบเตือนภัยพื้นที่เสี่ยง (โควิด-19) จังหวัด ชลบุรี ออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกในการที่จะแจ้งเตือนถึงข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ใช้งานในพื้นที่เสี่ยงให้ทราบ โดยผู้ใช้งานสามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร ในช่องแสดงความคิดเห็นและสามารถติดตามยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 4) การพัฒนาระบบ โดยจะใช้โปรแกรม Dreamweaver cs6 ในการเขียนคำสั่งและจัดการฟอร์มต่าง ๆ ในการใช้งานของระบบ และทำการจัดเก็บฐานข้อมูลโดย PhPMyAdmin 5) การทดสอบ ทดสอบระบบโดยการกรอกข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับผู้ที่ติดเชื้อโคโรนา (Covid-19) ในเว็บไซต์ได้แล้วระบบจะทำการตรวจสอบกับฐานข้อมูลว่ามี การซ้ำซ้อนหรือไม่ถ้าไม่มีความซ้ำซ้อนผู้ดูแลระบบจะการอนุมัติระบบจึงจะทำการแจ้งเตือนให้ ผู้ใช้งานทราบทันที 6) การนำไปใช้  ในการแจ้งเตือนภัยให้แก่ผู้ใช้งานในบริเวณใกล้เคียง 7) การบำรุงรักษา ระบบจะต้องมีการวิเคราะห์และปรับปรุงระบบใหม่ตลอดเวลา ผลการดำเนินงานพบว่าระบบการจัดการฐานข้อมูลผู้ที่ติดเชื้อ บนอินเทอร์เน็ตมี 2 โมดูล คือ โมดูลผู้ดูแลระบบ, โมดูลผู้ใช้งาน ซึ่งผู้ดูแลระบบสามารถเข้าสู้ระบบได้, จัดการฐานข้อมูลผู้ใช้งาน, ตรวจสอบคอมเมนต์ของผู้ใช้งาน และทำการแจ้งเตือน โมดูลผู้ใช้งาน สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบส่ง ข่าวสารคอมเมนต์ ได้รับการแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงผู้ใช้งาน

Article Details

How to Cite
[1]
รัตนธำรงพรรณ ท. ., เรืองไชย ส., สมพงษ์ ศ. ., และ อินสองใจ ก. . ., “การศึกษาแนวทางการออกแบบระบบเว็บไซต์เตือนภัยพื้นที่เสี่ยง (โควิด-19) จังหวัด ชลบุรี: บทความวิจัย”, JSCI-SBU, ปี 2, ฉบับที่ 1, น. 40–51, เม.ย. 2022.
บท
บทความวิจัย

References

Department Of Provincial Administration,Ministry of Interior,"Covid 19,"[Online]. Available: http://report.dopa.go.th/covid19/command2.html. [Accessed: August 1, 2021].

O. Iamsiriwong, Database Systems, Bangkok: SE-EDUCATION, 2015.

Jom Yut House, "history of internet," [Online]. Available:https://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/internet/index.html.[Accessed: July 30, 2021].

P. Petkaew, W. JobMalum, S.Trongphet and K. Kosila,"Development of the Student Loan Fund Database System Prof.) The 1st National Conference on Research and Innovation of Institute of Vocational Education: Northeastern Region 4, Udon thani, 28 – 29 February, 2020, pp. 153-160.

S. Nawakul, Basic Internet User Guide, Bangkok: SE-EDUCATION, 2012.

B. Paseelatesang, Develop web applications with PHP with MySQL and jQuery, Bangkok: SE-EDUCATION, 2015.

Saixiii, "What is MySQL?," [Online]. Available: https://saixiii.com/what-is-mysql/. [Accessed: August 3,2021].

O. Iamsiriwong, System analysis and design, Bangkok: SE-EDUCATION, 2017.

K. Natawan , Knowledge, Attitudes, and Preventive Behaviors of COVID-19 among People Living in Amphoe U-thong, Suphanburi Province.2021.[Online]. Available: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/download/247955/168669/

W. Nareemah, Prevention Behaviors of Coronavirus Disease 2019 Of Songkhla Rajabhat University Students,2021.[Online]. Available: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/download/248114/169967/