การพัฒนาสื่อวิดีโออินโฟกราฟิกการจัดการความรู้ เรื่องปัญหาการเรียนออนไลน์ บทความวิจัย

Main Article Content

นันทรัตน์ กลิ่นหอม
นฤทธิ์ตา สุดสงวน
ประภาพรรณ สุดสีชัง
วัชรินทร์ จัตุกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาสื่อวิดีโออินโฟกราฟิกการจัดการความรู้ เรื่องปัญหาการเรียนออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อออกแบบและพัฒนาสื่อวิดีโออินโฟกราฟิก เพื่อแสดงถึงเรื่องปัญหาการเรียนออนไลน์ 2) เพื่อหาคุณภาพของสื่อวิดีโออินโฟกราฟิกการจัดการความรู้ เรื่องปัญหาการเรียนออนไลน์ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อวิดีโออินโฟกราฟิกการจัดการความรู้ โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อจำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างสำหรับการประเมินความพึงพอใจสื่อประกอบด้วยอาจารย์และนักศึกษาจำนวน 60 คน ใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย (1) แบบสกัดองค์ความรู้ (2) สื่อวิดีโออินโฟกราฟิกการจัดการความรู้ (3) แบบประเมินคุณภาพของสื่อแบบประเมินมาตราวัดค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


             ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหามีความพึงพอใจต่อการสกัดองค์ความรู้และนำเสนอเนื้อหาโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 4.09 ผู้เชี่ยวชาญมีความพึงพอใจต่อการออกแบบและพัฒนาสื่อในด้านการนำเสนอ ภาพ สี เสียงประกอบและการเชื่อมโยงของเนื้อหา โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 4.01  และกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นอาจารย์และนักศึกษามีความพึงพอใจด้านการนำเสนอเนื้อหา เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 4.14 ด้านการสื่อวีดิโออินโฟกราฟิก เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 4.05 โดยมีข้อเสนอแนะสร้างสื่ออินโฟกราฟิกให้มีลักษณะสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
[1]
กลิ่นหอม น. . ., สุดสงวน น. . ., สุดสีชัง ป. ., และ จัตุกูล ว. ., “การพัฒนาสื่อวิดีโออินโฟกราฟิกการจัดการความรู้ เรื่องปัญหาการเรียนออนไลน์: บทความวิจัย”, JSCI-SBU, ปี 2, ฉบับที่ 2, น. 12–24, ส.ค. 2022.
บท
บทความวิจัย

References

Office of the Public Sector Development Commission and Thailand Productivity Institute. “Knowledge Management,” [Online]. Available: https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/ [Accessed: May 5, 2022].

V. Panich, "Knowledge Management," [Online]. Available:http://huahin.dusit.ac.th/bg/KM/KM_Article.pdf.[Accessed: May 7, 2022].

Hyperakt’s Josh Smith.(2558). “10 Steps To Designing An Amazing Infographic,” [Online]. Available:https://www.fastcompany.com/1670019/10-steps-to-designing-an-amazing-infographic. [Accessed: May 7, 2022].

Y. Tankhunkeaw, "Media Infographic Creation on Ethical uses of Social Media," [Online]. Available:http://chromeextension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/http://www.northbkk.ac.th/research_/themes/downloads/abstract/1506312170_abstract.pdf.[Accessed: May 7, 2022].

P. Chomsahai et al., "The Effect of the Infographic animation for Knowledge Enhancing in water Safety for Primary Achool Student Chiang mai Province," Academic Journal of Thailand National Sports University, Vol.13 No.2, pp. 195–204, May - August, 2021.

P. Pholsali and N. Thepnuan,"Development of infographic media based on transfer of learning on the topic of saving for the future of primary 6 students," Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University, Vol. 16, No.2, pp. 89-100, May – August, 2022.

Likert, R., The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. 90-95. New York: Wiley & Son, 1967.

B. Srisaat, Introduction to Research. (7th ed.), Bangkok: Suveeriyasan, 2002.

Steven J. McGriff , "Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Mode," Instructional Systems, College of Education, Penn State University, [Online]. Available: http://chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.lib.purdue.edu/sites/default/files/directory/butler38/ADDIE.pdf. [Accessed: June 10, 2022].

P. Saithong, “The Development of Motion Infographic for the Undergraduate Program Promotion, Faculty of Informatics, Mahasarakham University,”Veridian E-Journal, Silpakorn University, Vol 10, No.2, pp. 1330-1341, May – August, 2017.