การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง ธุรกิจเกษตรทฤษฎีใหม่ บทความวิจัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง ธุรกิจเกษตรทฤษฎีใหม่ 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง ธุรกิจเกษตรทฤษฎีใหม่ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง ธุรกิจเกษตรทฤษฎีใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงคือ นักศึกษาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก จำนวน 30 คน ที่เคยลงทะเบียนเรียนวิชาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) วิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรม Autodesk Maya และ Adobe After Effect สำหรับพัฒนาสื่อ 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่อ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับชมสื่อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่อ อยู่ในระดับมีคุณภาพมาก ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 3.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64 2) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับชมสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบแอนิเมชัน 3 มิติ มิติ เรื่อง ธุรกิจเกษตรทฤษฎีใหม่ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 4.04 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.10
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์และเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
References
Office of the National Economic and Social Development Council, "National Economic and Social Development Plan No. 11 (2012-2016)," [Online]. Available: http://www.nesdb.go.th/Portals/ news/plan11.pdf.[Accessed: 7 November 2021].
P. Maiklad, "Seminar articles on the topic “Lifestyle of Thai teenagers according to the concept of sufficiency economy,” "[Online]. Available:http://lovekingsim61.blogspot.com.[Accessed: 10 November 2021].
F. Lindsay. Thai Agriculture: Golden Cradle of Millenia. Bangkok: Kasetsart UniversityPress., 2005.
Davis, J. H., and R. A. Goldberg. “A Concept of Agribusiness,” Boston: Division of Research,
Graduate School of Business Administration, Harvard University, 1957.
New theory, "The heart of the sufficiency economy," [Online]. Available: https://sites.google.com/
site/sufficienteconomy2016/thvsdi-him-hawci-khxng-sersthkic-phx-pheiyng-1.[Accessed: 7 January 2022].
T. Kanchanasuwan, Multimedia Technology, 1st edition. Bangkok: KTP Comp and Consult Company Limited.
D. Weerapan and N. Anupong, "The Development of 2D Animated Multimedia Learning Materials about Sufficient via Internet,"Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) ,Vol. 7 No. 3,
P.61-72 , September-December ,2017.
P. Noomsopha, et al., "The Development of Augmented – Reality 3D Model on The Sufficiency Economy ," National academic conference Nakhon Ratchasima College, P.30-39, 23 May, 2020.
B. Srisa-at, Basic Research. 7th edition. Bangkok: Suweerivasarn Publisher.,2002.
D. Ladakul and P. Punya,"The Development of 3D Animation Cartoon to Promote the Integrity for Primary School Grade 4-6 Students," JOURNAL Of APPLIED INFORMATICS AND TECHNOLOGY, Vol.1 No.1,P.64-71, 2018.
Likert, S., New patterns of management. New York: McGraw-Hill.,1961.
Best, John W., Research in Education. 4th ed, New Jersey : Prentice-Hall.,1981.