การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพัสดุคงคลัง กรณีศึกษา หน่วยงานราชการ AAA บทความวิจัย

Main Article Content

ธิรดา ศรีเงิน
ปิยะเนตร นาคสีดี
วิชญุตร์ งามสะอาด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพัสดุคงคลังของหน่วยงานกรณีศึกษา เพื่อเพิ่มการจัดการปริมาณระดับพัสดุคงคลังได้อย่างเหมาะสม และเพื่อเพิ่มรูปแบบการจัดเก็บของคลังพัสดุได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาวิจัยพบว่าปัญหาของกระบวนการการจัดการพัสดุคงคลังภายในหน่วยงานนั้นมีพัสดุบางรายการมีมากกว่าความต้องการและพัสดุบางรายการไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากเจ้าหน้าที่คลังพัสดุขาดความรู้ความสามารถ ไม่มีการตรวจสอบพัสดุอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีการแบ่งประเภทการจัดเก็บพัสดุ
ที่ชัดเจนและไม่เป็นระบบ ทำให้เกิดปัญหาพัสดุคงคลังหมดอายุและเสื่อมสภาพ ดังนั้นผู้วิจัยจึงนำการใช้ทฤษฎี ABC Analysis ในการแบ่งกลุ่มตามมูลค่าของพัสดุคงคลัง และใช้ทฤษฎี FSN Analysis ในการแบ่งกลุ่มพัสดุตามอัตราการหมุนเวียน จากนั้นนำทฤษฎีทั้ง 2 ทฤษฎีมาจัดกลุ่มความสัมพันธ์ร่วมในรูปแบบตาราง Matrix เพื่อใช้เป็นแนวทาง
ในการสั่งซื้อที่เหมาะสมสำหรับพัสดุแต่ละประเภท และทำการจัดวางผังคลังพัสดุใหม่ (Warehouse Layout)
เพื่อปรับปรุงรูปแบบการจัดเก็บของคลังพัสดุ และพัสดุคงคลังอยู่ในระดับที่เหมาะสม พบว่าหลังจากที่ใช้กลยุทธ์นี้สามารถจัดการพัสดุคงคลังให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ และลดปริมาณพัสดุที่มีความต้องการใช้งานน้อยของหน่วยงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการการจัดการคลังพัสดุให้เหมาะสม และลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาพัสดุส่วนเกินในสต๊อกให้น้อยลง โดยมีมูลค่าต้นทุนพัสดุคงคลังลดลงคงเหลือ 171,867.39 บาท จากการนำมูลค่าพัสดุก่อนการปรับปรุงใน ปี 2563 - 2565 คิดเป็นมูลค่า 257,129.27 บาท และการนำทฤษฎี ABC มาจัดกลุ่ม และปรับปรุงการจัดเรียงใหม่ โดยเริ่มใช้เครื่องมือตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 - เดือนมีนาคม ปี 2566 พบว่าสามารถลดพัสดุคงคลังที่ Dead stock ได้ ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 85,261.68 บาท คิดเป็นร้อยละ 33.16%


 

Article Details

How to Cite
[1]
ศรีเงิน ธ. ., นาคสีดี ป. ., และ งามสะอาด ว. ., “การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพัสดุคงคลัง กรณีศึกษา หน่วยงานราชการ AAA: บทความวิจัย”, JSCI-SBU, ปี 3, ฉบับที่ 1, น. 13–28, มิ.ย. 2023.
บท
บทความวิจัย

References

Metharatchatakun, A.," Optimization of warehouse management, a case study. Automobile Parts Manufacturing Company," Chonburi: Burapha University, 2014.

P. Kaewchuea. et al.,”Efficiency improvement in raw material storage department to reduce time.in moving raw materials and products,” Bangkok : Department of Industrial Engineering and Logistics, Faculty of Engineering Mahanakorn University of Technology, 2009.

J. Saengchan,”Increasing warehouse management efficiency by applying material classification method by frequency of use. A case study of a company in the printing industry,” Master of Business Administration (Logistics), Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 2019.

Kumar, Y., Khaparde, R. K., Dewangan, K., Dewangan, G. K., Dhiwar, J. S.and Sahu,"FSN Analysis for Inventory Management – Case Study of Sponge Iron Plant," International Journal for Researchin Applied Science & Engineering Technology (IJRASET), vol.5,no.2, pp.53-57, 2017.

R. Kraipanyapong et al.,"Performance improvement of Purchasing and Inventory management (Case: AAA Company)," Industrial Engineering Network Academic Conference,19 October 2012, Cha-Am, Phetchaburi, pp.1917-1922.

S. Charoenprasit and C. Tiantong,"Increasing Efficiency of Warehouse Management of A Frozen Foods Factory by Using ABC CSLP Theory," Rajapark Journal, vol.16, no.48, pp.30-45, September - October 2022.

S. Niemsakul, "Improved Efficiency for Inventory Management: A Case Study of Drinking Water Production Company," Interdisciplinary Sripratum Chonburi Journal, vol.4,no.2, pp.1-14,May-August 2018.