การสร้างรูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพกับการเรียนแบบโครงงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

กฤษดา หินเธาว์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพกับ
การเรียนแบบโครงงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) ทดลองใช้รูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพกับการเรียนแบบโครงงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพกับการเรียนแบบโครงงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมดิจิทัล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบ
การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพกับการเรียนแบบโครงงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพกับการเรียนแบบโครงงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 บริบท ส่วนที่ 2 ปัจจัย นำเข้า ส่วนที่ 3 กระบวนการ ส่วนที่ 4 การประเมินผล ส่วนที่ 5 ผลลัพธ์ และ ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50)  2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพกับการเรียนแบบโครงงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า คะแนนหลังการเรียนรู้ของนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนภควันตภาพกับการเรียนแบบโครงงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.64 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). นโยบายและแผน

ระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2561-2580).

Hootsuit, we are social. 2562. Kemp, 2019. ออนไลน์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2555). ภาพอนาคตการศึกษาไทย: สู่การศึกษาภควันตภาพ. (คู่มืออบรมปฏิบัติ

การบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์พกพา (Tablet) เพื่อ ยกระดับการเรียนการสอน). กรุงเทพฯ:

สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ. (2548). การออกแบบและพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการศึกษา. เอกสารคำสอนรายวิชาการ ออกแบบและพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

Astin, A. W. (1971). The college environment. New York: American Council on Education.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้ง

ที่ 18). กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน ฉบับปรับปรุง. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้ง

ที่ 21). กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Thomas, J.W. (2000). A review of research on project-based learning. San Rafael, CA : Autodesk.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556 ก). การวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา. นนทบุรี:

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Ogata, H., & Yano, Y. (2004). Context-aware support for computer-supported ubiquitous

learning. Proceedings of Wireless and Mobile Technologies in Education (pp. 27-34). New York:

ACM.

ภัทรดร จั้นวันดี. (2563). ระบบการสอนแบบร่วมมือภควันตภาพ สำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาคอมพิวเตอร์

ศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ

การศึกษาตามหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัย

บูรพา.

ภูชิศ สถิตย์พงษ์. (2560). การพัฒนาระบบการสอนภูมิศาสตร์แบบภควันตภาพสำหรับนักเรียนระดับ

มัธยมศึกษาตอนต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยี

การศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2555 ก). คู่มืออบรมปฏิบัติการ บูรณาการใช้คอมพิวเตอร์พกพา (Tallet) เพื่อ

ยกระดับการเรียนการสอน. กรุงเทพ ฯ: สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน.

เพชร รองผล. (2562). การพัฒนาระบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ภควันตภาพเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้าน

เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. ดุษฎีนิพนธ์

การศึกษาตามหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัย

บูรพา.

ศิริพล แสนบุญส่ง. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานผ่านสิ่งแวดล้อมทางการ

เรียนรู้บนคลาวด์คอมพิวติง เพื่อส่งเสริมผลงานสร้างสรรค์และทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีมของนักศึกษา

ระดับปริญญาตรี. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.