การวิจัยออกแบบและพัฒนาศูนย์ข้อมูลกลางสำหรับสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาศูนย์ข้อมูลกลางสำหรับสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ประเมินประสิทธิภาพศูนย์ข้อมูลกลางสำหรับสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจการใช้งานศูนย์ข้อมูลกลางสำหรับสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้พัฒนาระบบ ตามทฤษฎี SDLC กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพระบบ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านการศึกษา รวมจำนวน 3 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาความพึงพอใจการใช้งานระบบ รวมจำนวน 100 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ ระบบบริหารจัดการข้อมูลกลางมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบบประเมินประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการข้อมูลกลางมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบบสอบถามความพึงพอใจและแบบสอบถามการยอมรับของผู้ใช้งานระบบบริหารจัดการข้อมูลกลางมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การออกแบบและพัฒนาศูนย์ข้อมูลกลางสำหรับสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถใช้งานได้จริง โดยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลองค์กรทางกรศึกษา ประกอบด้วย 4 ระบบสารสนเทศ ได้แก่ 1) ระบบจัดเก็บผลงานบุคลากร 2) ระบบประเมินการจัดการเรียนการสอนสายวิชาการ 3) ระบบประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร 4) ระบบติดตามกิจกรรมนักศึกษา บุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถเข้าถึงนำข้อมูลได้ตามขอบเขตสิทธิ์การใช้งานตามที่ระบบได้กำหนดไว้ และตรงตามความต้องการของผู้ใช้ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพศูนย์ข้อมูลกลางสำหรับสถาบันอุดมศึกษา จากผู้เชี่ยวชาญมีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.85, S.D. = 0.36) แล 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจผู้ใช้งานศูนย์ข้อมูลกลางสำหรับสถาบันอุดมศึกษา จากกลุ่มเป้าหมาย มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.80, S.D. = 0.40) และ 4) ผลการศึกษาการยอมรับของผู้ใช้งานระบบที่มีต่อระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.86 , SD. = 0.34)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติภักดี วัฒนะกุลและจาลอง ครูอุตสาหะ. (2544) : การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development). กรุงเทพฯ: เคทีพีคอมพ์ แอนด์คอนซัลท์.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. ครั้งที่ 1. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.กรุงเทพฯ.1436 หน้า
เว็บแอพพลิเคชั่น.(2562).สืบค้นจาก https://mdsoft.co.th/ความรู้/359-web-application.html
จาวาสคริปต์.(2562).ความหมายของจาวาสคริปต์. สืบค้นจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/จาวาสคริปต์
ภาษาพีเอชพี(2562).สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาพีเอชพี
บัญชา ปะสีละเตสัง. การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วย PHP ร่วมกับ MySQL และ Dreamweaver. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2553.
ฐานข้อมูล PHP My Admin.(2562).สืบค้นจากhttps://www.aosoft.co.th/article/310/phpMyAdmin-คืออะไรA3.html
นิรุธ อำนวยศิลป์ . PHP How-To and Web-Based Application Techniques กรุงเทพฯ: บริษัท ดวงกมลสมัย จำกัด.
Stair (1996 : 411-412) : System development life cycle : SDLC.
กิตติภักดี วัฒนะกุลและจาลอง ครูอุตสาหะ. (2544) : วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database Life Cycle : DBLC). กรุงเทพฯ: เคทีพีคอมพ์ แอนด์คอนซัลท์.
ชาลี และเทพฤทธิ์. (2544) วิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุโดยใช้ยูเอ็มแอล (Unified Modeling Language : UML).กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธีรพล ด่านวิริยะกุล(2549). ระบบการจองห้องพักผานเว็บเซอร์วิส กรณีศึกษาโลลิต้า บังกะโล เกาะสมุย. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ฉัตรนภา พรหมมา (2549) รูปแบบเครือข่ายการบริหารจัดการงานวิจัยแบบบูรณาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์และองค์ท้องถิ่น.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
วรวัช โกศลศักดิ์สกุล. (2544) การออกแบบโปรแกรมระบบฐานข้อมูล สำหรับการจัดการการใช้มีดตัด . มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี/กรุงเทพฯ.
ณพัชร์วดี แสงบุญนํา. (2547. : 1-2) การออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศโดยใช้หลักการ UML บนฐานข้อมูลเชิงวัตถุ.มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.ชลบุรี
มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(2563).ประวัติ. สืบค้นจาก http://www.neu.ac.th/home.php?p=13&neu=101
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
จารุกิตติ์ สายสิงห์.(2563). ระบบจัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากรทางการศึกษาแบบ 360 องศา. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 7(2), 59-71.
นิตยปภา จันทะปัสสา.(2562).การพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงานบุคคลโรงเรียนบ้านดอนตูมดอนโด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 9(1). 82-89.
ดาวรถา วีระพันธ์. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชัน. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), 145-154.
องค์อร สงวนญาติ และคณะ. (2560). การประเมินโครงการเพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการการเรียนรู้ระหว่างห้องเรียนพิเศษ โปรแกรมนานาชาติ (IP) กับหลักสูตรการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามโครงการ Education Hub กระทรวงศึกษาธิการในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.