การพัฒนาตัวแบบสืบค้นพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา โดยใช้อัลกอริทึมเอไพรออริ

Main Article Content

สลานนท์ ไทยเขียว
ภรัณยา ปาลวิสุทธิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับการสืบค้นความสัมพันธ์พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาโดยใช้อัลกอริทึมเอไพรออริ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการออกกำลังกายจากกลุ่มตัวอย่างของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 576 คน  และ 2) เพื่อนำผลการศึกษาดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการศึกษาและพัฒนาการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา จากผลการทดลองพบว่า 1) การค้นหากฎความสัมพันธ์ของข้อมูลพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาด้วยอัลกอริทึมเอไพรออริ มีค่าดีที่สุดอยู่ในช่วงความเชื่อมั่นอยู่ที่ร้อยละ 93 และ 2) ผลของการศึกษาสามารถนำแบบจากการค้นหากฎความสัมพันธ์ของข้อมูลด้วยอัลกอริทึมเอไพรออริมาประยุกต์ใช้สำหรับการวางแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายของนักศึกษาได้จริง ทั้งด้านการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน การค้นหาอุปกรณ์ออกกำลังกายต่าง ๆ ให้ตรงกับความต้องการของนักศึกษา และกิจกรรมอื่น ๆ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. การเคลื่อนไหวออกกําลังกายเพื่อสุขภาพร[อินเทอร์เน็ต]. 2549 [เข้าถึงเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2563]. จาก: http://dopah. anamai.moph.go.th

กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาการสาธารณสุขในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[อินเทอร์เน็ต]. 2550. [เข้าถึงเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2563]. จาก: http://healthcorners.com/new_Read_news.ph.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาการสาธารณสุขในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10[อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2563]. จาก: http://healthcorners.com/new_Read_news.ph.

rattanatat. การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining)[อินเทอร์เน็ต].2562 [เข้าถึงเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2563] จาก: https://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-57-30/2019-03-15-08-49-57.

การกีฬาแห่งประเทศไทย. คู่มือผู้นําการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร : หจก.ไอเดียสแคว์; 2545.

มนัส ยอดคํา. สุขภาพกับการออกกําลังกาย. พิมพลักษณ์,กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2548.

ไพชยนต์ คงไชย, นิตยา เกิดประสพ และ กิตติศักดิ์ เกิดประสพ. การค้นหากฎความสัมพันธ์ด้วยการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะด้วยเงื่อนไขบังคับ. วารสารวิจัยวิศกรรมสารเกษมบัณฑิต. 2557; 4(1):1-15.

กฎความสัมพันธ์[อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 16 กันยายน 2563] จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/กฏความสัมพันธ์

ภรัณยา ปาลวิสุทธิ์. การเพิ่มประสิทธิภาพเทคนิคต้นไม้ตัดสินใจบนชุดข้อมูลที่ไม่สมดุลโดยวิธีการสุ่มเพิ่มตัวอย่างกลุ่มน้อยสำหรับข้อมูลการเป็นโรคติดอินเทอร์เน็ต[อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 18 สิงหาคม 2563]. จาก:http://www.journal.msu.ac.th/upload/articles/article2154_27225.pdf.

ณัฐิยา ตันตรานนท์, ครรชิต มาลัยวงศ์, เสมอแข สมหอม และคณะ กฎความสัมพันธ์รายวิชาที่มีผลต่อการพ้นสภาพนักศึกษาโดยใช้อัลกอริทึมอพริโอร. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 : 22 ธันวาคม 2559; อาคารทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. กำแพงเพชร; 2559.

ทวีศักดิ์ คงตุก. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพอัลกอริทึมสำหรับค้นหาไอเท็มเซตที่ปรากฏร่วมกันบ่อย. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2560;4(1):34.เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธิดารัตน์ แซ่หยี. การพัฒนาต้นแบบระบบสนับสนุนการใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล[อินเทอร์เน็ต].2561 [เข้าถึงเมื่อ 16 กันยายน 2563] จาก: http://202.44.135.157/dspace/bitstream/123456789/2121/1/58902306.pdf.