การจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาคโดยโปรแกรม VISSIM เพื่อปรับปรุงมาตรการควบคุมการจราจรบริเวณจุดตัดผ่านทางรถไฟด้วยสัญญาณไฟจราจรแบบพรีเอ็มชั่น

Main Article Content

ธวัชชัย ปัญญาคิด
อำพล การุณสุนทวงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพื่อหามาตรการปรับปรุงระบบควบคุมระยะเวลาของเครื่องกั้นทางรถไฟบริเวณสถานีหนองขอนกว้างตัดกับทางหลวงหมายเลข 216 (วงแหวนด้านทิศตะวันออก) จังหวัดอุดรธานี เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเกิดปัญหาการติดขัดของการจราจรในช่วงเวลาเร่งด่วนเนื่องจากมีปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแต่ละปี แต่ในกรณีนี้จะศึกษาเฉพาะเรื่องของระยะเวลาที่กั้นทางรถไฟที่นานเกินไปเท่านั้น โดยจะจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาคด้วยโปรแกรม VISSIM เพื่อกำหนดตำแหน่งการติดตั้งระบบตรวจจับการมาถึงของขบวนรถไฟ (Detector) ก่อนถึงจุดตัดทางรถไฟด้วยระบบพรีเอ็มชั่นเพื่อควบคุมระยะเวลาของเครื่องกั้นให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อลดปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้นให้น้อยลงได้ โดยจากการศึกษาทำให้ได้ผลการศึกษาที่สามารถ ลดความยาวแถวคอยของยานพาหนะได้เฉลี่ยร้อยละ 41 ลดเวลาที่ใช้ในการเดินทางได้เฉลี่ยร้อยละ 4 ลดเวลาการสูญเสียเนื่องจากความล่าช้าได้เฉลี่ยร้อยละ 13 และ ลดเวลาสูญเสียเนื่องจากต้องหยุดรอสัญญาณไฟได้เฉลี่ยร้อยละ 47 เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการเดิมซึ่งใช้เจ้าหน้าที่ของ การรถไฟ ฯ เป็นผู้ควบคุมเครื่องกั้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มูลนิธิไทยโรดส์ และศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย, 2556, รายงานสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย พ.ศ. 2555-2556, กรุงเทพฯ, หน้า 20-30.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข), กระทรวงคมนาคม, 2553, โครงการศึกษาจัดทำแผนแก้ไขอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนนสำหรับทางรถไฟระยะไกล, รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report), กรุงเทพฯ, หน้า 6-8.

สำนักอำนวยความปลอดภัย, กรมทางหลวง, 2558, สรุปบริเวณทางรถไฟตัดผ่านทางหลวงประจำปี พ.ศ. 2558, กรุงเทพ, หน้า 7.

The Transportation Research Board (TRB), 2017, Traffic Signal Preemption at Intersections Near Highway–Rail Grade Crossing, Washington D.C., USA, Chapter 2, pp. 7-18.

Park B. and Schneeberger, J.D., 2003, Microscopic Simulation Model Calibration and Validation Case Study of VISSIM Simulation Model for a Coordinated Actuated Signal System, Washington, DC., pp. 50-150.

สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์, 2551, วิศวกรรมจราจร (Traffic Engineering), ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, หน้า 140-143.