การพัฒนาการบริหารห่วงโซ่อุปทานผลผลิตทุเรียนและการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการคัดแยกทุเรียนด้วยหลักการ SCOR Model

Main Article Content

พีรศักดิ์ ศักดิ์หงษ์
วิชญุตร์ งามสะอาด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งลดปัญหาข้อบกพร่องด้านจัดการคุณภาพทุเรียน ด้วยการประยุกต์ตามหลักแนวคิด ตัวแบบเชิงปฏิบัติการโซ่อุปทาน (Supply Chain Operations : SCOR Model) เพื่อแก้ไขผลกระทบที่เกิดการจำแนกคุณภาพทุเรียน ขั้นตอนของการกำหนดปัญหาโดยได้ทำการเก็บข้อมูลจากทางสวนทุเรียน ในขั้นตอนการตัดและคัดแยกอยู่ที่ 500-1,000 กิโลกรัม ต่อทุเรียน 100 ตัน พบปัญหาการคัดเลือกที่ไม่มีคุณภาพ ตามมาตรฐาน มกษ. 3-2556 GMP และ GAP จากการที่ไม่ทราบถึงอายุผลิตภัณฑ์ทุเรียน ทั้งอ่อนและแก่เกินไป ผลจากการคัดแยกผลผลิตต้องใช้ผู้ที่ขาดความชำนาญในการคัดแยก ทำให้มาตรฐานในการคัดเลือกคุณภาพจัดเก็บและประเภทของทุเรียน ยังไม่ดีตามมาตรฐาน และวิธีที่ใช้ในการส่งต่อข้อมูลโดยชาวสวนนี้มีโอกาสทำให้เกิดความผิดพลาดเป็นอย่างมาก ที่จะส่งผลต่อกระบวนการบริหารจัดการระหว่างชาวสวนและล้งที่รวบรวมผลผลิต มีการนำเครื่องมือการวิเคราะห์หาสาเหตุและผล ทำการปรับปรุงกระบวนการสื่อสารระหว่างชาวสวนและล้งที่รวบรวมผลผลิต เพิ่มประสิทธิภาพ วิเคราะห์มูลค่าที่เพิ่มขึ้นหลังจากการแก้ไข มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอายุของทุเรียนที่ไม่ถูกต้องแม่นยำ ผลการปรับปรุงกระบวนการ โดยการแบ่งส่วนการปรับปรุงด้วยหลักการ SCOR Model พบว่าหลังการปรับปรุงกระบวนการ ชาวสวนผู้ปลูกมีการสื่อสารข้อมูลอายุและระยะเวลาการสุกของทุเรียน ได้สอดคล้อง ถูกต้องและแม่นยำ ทำให้ทางล้งรับทุเรียน สามารถวางแผนการผลิตล่วงหน้าได้ เวลาที่ใช้ในกระบวนการคัดแยกใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 56 นาที/1,000 กิโลกรัม ลดลง 19 นาที คิดเป็น 25% จากก่อนการปรับปรุง ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างคนงานลง 1,150 บาทต่อวัน คิดเป็น 23.71% ความสามารถการทำงานต่อวันเพิ่มขึ้น 33.9% คิดเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นได้ 130,200 บาท

Article Details

How to Cite
[1]
ศักดิ์หงษ์ พ. . และ งามสะอาด . ว. ., “การพัฒนาการบริหารห่วงโซ่อุปทานผลผลิตทุเรียนและการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการคัดแยกทุเรียนด้วยหลักการ SCOR Model”, JSCI-SBU, ปี 1, ฉบับที่ 2, น. 25–38, ส.ค. 2021.
บท
บทความวิจัย

References

[1] ริรัตน์ ตรงวัฒนาวุฒิ ปิยวรรณ สิริประเสริฐศิลป์ และ ชัยวัฒน์ ใบไม้. “การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานโรงสีข้าวอินทรีย์ขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่”, วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, บทที่ 8, หน้า 157-180, 2561
[2] สุธาทิพย์ เลิศวิวัฒน์ชัยพร และคณะ. “การบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้กับเกษตรกรชาวนาแห้ว
จังหวัดสุพรรณบุรี ”,คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2561
[3] นพปฎล สุวรรณทรัพย. “การประเมินผลการปฏิบัติงานโซ่อุปทานโดยใช้แบบจาํลอง SCOR Model”, วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, หน้า 1-10, 2558
[4] รศ.ดร. วันชัย รัตนวงษ์. “กรณีศึกษาการสร้างรายได้และเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้าทุเรียน บริษัท AAA จำกัด”, หนังสือปฏิบัติการโลจิสติกส์ หยุด Disruption ในธุรกิจ SMEs (SMEs Disruption : Logistics Solution), บทที่ 3, หน้า 48-62, 2562