การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการเขียนแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

กิตติปกรณ์ อ้มเถื่อน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการเขียนแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ที่เรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับการเขียนแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการศึกษาพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการเขียนแผนผังความคิด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.87/76.33 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5026 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 50.26 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อการสอนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก


Abstract


The purpose of this study were to: 1) develop of lesson plan on the topic of the introduction to Data Analysis by using inquiry method (5E) with the concept mapping technique to be efficient 75/75 2) study the effectiveness index (E.I.) of lesson plan 3) compare the student’s learning achievement before and after learning Mathematics on the Topic of the introduction to data analysis by using inquiry method (5E) with the concept mapping technique and 4) study the satisfaction of students. The samples were 30 students in Mathayomsuksa 5 at Banphai School, KhonKaen Province, obtained by cluster sampling.


The research instruments were 1) lesson plans of Inquiry Method (5E) with Concept Mapping Technique 2) the multiple choice achievement test and 3) the students’ satisfaction questionnaire. The data analysis was mean, percentage, standard deviation, t- test dependent and content analysis.


The results revealed that the lesson plans on the topic of the introduction to Data Analysis using inquiry method (5E) with the concept mapping technique of students in Mathayomsuksa 5 was at 76.87/76.33, and the effectiveness index was 0.5026 or 50.26 percent. Learners who studied using inquiry method (5E) with the concept mapping technique had post-study score significantly higher than the pre-study score at .05 level. The students’ satisfaction towards learning activities was at a high level.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา.
จุฑามาศ บัวทอง. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาทศนิยมโดยใช้แผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยนครพนม.
ดิษพล เนตรนิมิต. (2558). “ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5Es) ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ปีที่ 26, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2558), หน้า 53-65.
โรงเรียนบ้านไผ่. (2558). รายงานสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา ประจำปีการศึกษา 2557. ขอนแก่น : โรงเรียนบ้านไผ่. (เอกสารอัดสำเนา).
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาพัฒนาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่3. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2558). รายงานผลการประเมินการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET. ค้นเมื่อ 8 กันยายน 2558, จาก www.niets.or.th.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี.
สิริญา วงเวียน. (2558). ผลการแบบฝึกทักษะเรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตรโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร- มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สุธาทิพย์ ภิรมย์รักษ์. (2556). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น ประกอบแผนผังความคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องปรากฎการณ์ น้ำ ฟ้า และดวงดาวชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2547). 21 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.
อรทัย แก่นจันทร์. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด เรื่องสารในชีวิตประจำวัน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อําไพ ธนะมูล. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 5E เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Brett D. Jones, Chloe Ruff, Jennifer Dee Snyder, Britta Petrich & Chelsea Koonce. (2012). “The Effects of Mind Mapping Activities on Students' Motivation,” International Journal for the Scholarship of Teaching & Learning. 6(1): Article 5. Available at: https://doi.org/10.20429/ijsotl.2012.060105.
Hapgood, S.E. (2003, December). “Motion in Action : A Study of Second Graders’ Trajectories of Experience During Guided Inquiry Science Instruction,” Dissertation Abstracts International. 64(06) : 1979 – A.
Nebojsa Stankovic, Carisa Besic, Milos Papic & Veljko Aleksic. (2011). “The evaluation of using mind maps in teaching,” Technics Technologies Education Management. 6(2): 337-343.
Patrick, D.L. (2004). “A Longitudinal Investigation of Student Learning in General Chemistry with the Guided Inquiry Approach,” Dissertation Abstracts International. 180 –A.