แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์

บทคัดย่อ

               เมื่อสถานการณ์โลกพลิกผันเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี บรรยากาศและสิ่งแวดล้อม โรคอุบัติใหม่ คร่าชีวิตคนหลายสิบล้านคนเกิดกระแสความปกติใหม่ (New normal)  เทคโนโลยียุคดิจิทัลกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นของชีวิต ภาษาและการสื่อสารพัฒนาแบบก้าวกระโดดทำให้การเข้าถึงความรู้และแหล่งเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและกว้างไกล การศึกษาแบบสหวิทยาการมีความสำคัญ  ต่อการพัฒนาคนที่จะนำไปสู่การพัฒนาในทุกมิติ เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระบบความรู้ ระบบสังคมเศรษฐกิจ ระบบงาน และการปฏิวัติดิจิทัล ตลอดจนการพัฒนาและปฏิรูปประเทศที่ต้องเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การศึกษาไทยปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง และใช้ประโยขน์จากเทคโนโลยีได้ไม่เต็มที่          ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบก้าวกระโดดได้ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ภูมิภาค และโลก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร การสร้างทักษะใหม่ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม และด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เกิดความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ให้ทันโลก ทันการเปลี่ยนแปลง       มีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านอื่นๆ โดยทุกประเทศรวมถึงประเทศไทยได้มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพประชากร      ให้เป็นทุนมนุษย์ (Human Capital)ที่พัฒนาทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา ด้านจิตใจ เป็นคนยุคใหม่ที่รู้จักและเข้าใจตนเอง เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น เข้าใจสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและสภาพแวดล้อมต่างๆ รอบตัว เป็นผู้มีความรู้ลึกในแก่นสาระของวิชา สามารถรู้รอบตัวในเชิงสหวิทยาการ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีทักษะความสามารถ ทั้งทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม การคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร ทักษะภาษาต่างประเทศ ทักษะการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะทางสังคม ทักษะชีวิตและอาชีพ  ทักษะทางอารมณ์ และทักษะการจัดการที่ดี ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปสู่ทักษะแห่งอนาคตสำหรับการดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ดังนั้น การจัดการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนแปลงมุมมองใหม่ (perspectives) จากกระบวนทัศน์แบบเดิม (traditionparadigm) ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ (new paradigm) ที่ให้โลกของผู้เรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่ไปไกลกว่าการได้รับความรู้แบบง่ายๆ ไปสู่การเน้นพัฒนาทักษะและทัศนคติ ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะองค์การ ทัศนคติเชิงบวก ความเคารพตนเอง ความสามารถใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์ (the ability to handle knowledge effectively in order to use it creatively) เป็นสิ่งที่ท้าทายในการที่จะพัฒนาตนให้มีทักษะ ทัศนคติค่านิยม และบุคลิกภาพส่วนบุคคล เพื่อเผชิญกับอนาคตด้วยภาพในทางบวก (optimism) ที่มีทั้งความสำเร็จและมีความสุข (Panich, 2012)

Article Details

How to Cite
ดลประสิทธิ์ ด. (2021). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในศตวรรษที่ 21. คุรุสภาวิทยาจารย์, 2(1), 1–16. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/243655
บท
บทความวิชาการ

References

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.
2563. “ประกาศเรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580)”. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก, วันที่ 13ตุลาคม 2561
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135
ตอนที่ 24 ก, วันที่ 6 เมษายน 2561.
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 51 ก, วันที่ 18 เมษายน 2562.
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ:
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.2562.
ธีรวี ทองเจือ และ ปรีดี ทุมเมฆ. แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21 :มิติด้านการศึกษา วารสาร
สันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2560)
พระบรมราโชบายด้านการศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10: นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ เข้าถึงจากhttp://seminar.qlf.or.th/Seminar/Topic/29
ศุภชัย ศรีสุชาติ. (2563). วิกฤตแรงงานไทยในยุค COVID-19. เข้าถึงจาก https://www.the101.world/thai-
labor-covid-19/ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๘๒ก ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๘๐.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2559: ตายดี วิถีที่เลือกได้.
นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.2559.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2562). ทำงานหลังเกษียณ-ได้เรียนตลอดชีวิต: ทางรอดของคนไทย
ในสังคมอายุยืน, รายงานทีดีอาร์ไอ. ฉบับที่ 155 สิงหาคม 2562.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: บริษัท
พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.2560.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2563.
เข้าถึงจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5491&filename =socialoutlook_report
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. กรอบสมรรถนะครูเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซี-ทีซีเอฟ) ,บริษัท ออนป้าจำกัด กันยายน
๒๕๖๒.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. การศึกษาแนวโน้มความต้องการกำลังคนโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน, บริษัทพริก
หวานกราฟฟิค จำกัด. ๒๕๖๒.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.๒๕๖๑, บริษัท ๒๑ เซนจูรี่ จำกัด. ๒๕๖๒.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๗๙, บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
๒๕๖๐
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. รายงานพันธกิจการปฏิรูปการศึกษาไทยของคณะกรรมการอิสระเพื่อการ
ปฏิรูปการศึกษา,๒๕๖๒.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐. สำนักพิมพ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,๒๕๖๐.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. รายงานพันธกิจการปฏิรูปการศึกษาไทยของคณะกรรมการอิสระเพื่อการ
ปฏิรูปการศึกษา,๒๕๖๒.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่
สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ สำนักนายกรัฐมนตรี.2559.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. คนไทยแห่งอนาคต. วารสารเศรษฐกิจและ
สังคม.ปีที่ 56 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2562. กรุงเทพมหานคร: ส านักงานสภาพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.2562.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การศึกษาแนวโน้มความต้องการแรงงานของตลาดแรงงานในประเทศไทย
ช่วงปี 2560 – 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.2560.
Assawabhum, S. Modern Education Administration Theory and Practice. (4th
edition). UbonRatchathani: Ubonkij offset. (in Thai) 2008.
McKinsey Global Institute. (2 0 1 3 ) . Disruptive technologies: Advances that will transform life, business, and the global economy
Panich, W. Creating Learning for Student in 21st Century. Bangkok: Sodsri-
Saritwong Foundation. (in Thai) 2012.
Suttilertarun, S. Human Behavior and Development, Bangkok: Aksarapipat Press (in
Thai). 2007.
Thai Education, Retried from http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/
study_of_thailand/10.html. 2015.
The 10 skills you need to thrive in the Fourth Industrial Revolution,
https://www.weforum.org/agenda/2016/01/the-10- skills-you-need-to-thrive-in-the-fourth-industrial-revolution/
Thienput, D. Human Resource in the 21st Century. (3rdedition). Bangkok:
Chulalongkorn University Press. (in Thai) 2000.
The Matter. อาชีพไหนจะหายไป อาชีพอะไรกำลังมา?: สำรวจเทรนด์อาชีพมาแรงปี 2030,
https://thematter.co/quick-bite/future-jobs-in-2030/100937.2563.