บทเรียนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน (MOOCs) เพื่อการศึกษาไทยหลังการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

รศ.ดร.ปานใจ ธารทัศนวงษ์
และศิริพร ศักดิ์บุญญารัตน์

บทคัดย่อ

               การระบาดของโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 ได้นำช่วงเวลาแห่งอันตรายมาสู่การศึกษาและมีความเสี่ยงที่จะเกิดการกระจายตัว ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาอีกนานพอสมควรจึงจะคลี่คลาย แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโรคนี้จะมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น แต่ผลกระทบของการระบาดของโรคนี้ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก รวมถึงด้านการศึกษา  เช่น ครูและนักเรียนที่ไม่อาจกลับไปเรียนตามปกติเมื่อเปิดโรงเรียนอีกครั้ง การแพร่ระบาดของโรคได้บังคับให้ต้องเปลี่ยนจากการเรียนและการสอนแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญสำหรับผู้เรียนที่มักอาศัยสภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงเรียนเพื่อให้การศึกษา นอกจากนี้มีการคาดการณ์ได้ว่าโลกหลังยุควิกฤตินี้จะมีความเสี่ยงสูงทั้งในด้านเศรษฐกิจและสุขภาพ ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการพัฒนาตัวเอง ทั้งทักษะและความรู้ (ReSkill, UpSkill)เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ว่าจ้าง ซึ่งการเรียนออนไลน์เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำได้ ดังนั้นการศึกษาในอนาคตจำเป็นต้องมีมีความยืดหยุ่นและปรับให้เข้ากับบริบทที่แตกต่างกันและตามความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป สอดคล้องกับองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้นำเสนอแนวคิด 9 ประการสำหรับการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมซึ่งจะทำให้การศึกษาก้าวหน้าหลังวิกฤตการณ์นี้ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การจัดทำเทคโนโลยีโอเพนซอร์สสำหรับครูและนักเรียน ซึ่งต้องสนับสนุนทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดและเครื่องมือดิจิทัลแบบเปิด การศึกษาไม่สามารถเจริญเติบโตได้ด้วยเนื้อหาสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นจากวิธีการสอนแบบเดิม

Article Details

How to Cite
ธารทัศนวงษ์ ร., & ศักดิ์บุญญารัตน์ แ. (2021). บทเรียนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน (MOOCs) เพื่อการศึกษาไทยหลังการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 . คุรุสภาวิทยาจารย์, 2(1), 17–26. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/243658
บท
บทความวิชาการ

References

โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (2564). Thai MOOC. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564, จากhttp://mooc.thaicyberu.go.th/
โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (2564). Micro Site | ThaiMOOC : Lifelong learning space for all. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564,
จาก https://exlms.thaimooc.org/micro_site/
สิริกญัญา มณีนิล และศศิฉาย ธนะมัย (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับ
ผู้เรียนกลุ่มใหญ่ที่มีลีลาการเรียนรู้แตกต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (ม.ค. – มิ.ย.) 2563 หน้า 15-29.
อนุชิต ชโลธร (2557). มาเล่น OPEN edX กัน. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2564, จาก https://thaiopensource.org/มาเล่น-open-edx-กัน/
Coursera Inc. (2021). Coursera. Retrieved 5 March 2021, from https://www.coursera.org/
Dhawal Shah (2020). By The Numbers: MOOCs in 2020. Retrieved 5 March 2021, from https://www.classcentral.com/
report/mooc-stats-2020/
edX Inc. (2021). edx. Retrieved 5 March 2021, from https://www.edx.org/
FutureLearn Inc. (2021). FutureLearn. Retrieved 5 March 2021, from https://www.futurelearn.com/
Ministry of Education and NPTEL. (2021). SWAYAM. Retrieved 5 March 2021, from https://swayam.gov.in/
M. Binkley et al (2012). Defining Twenty-First Century Skills. in Assessment and Teaching of 21st Century Skills,
P. Griffin, B. McGaw, and E. Care Eds. Dordrecht: Springer Netherlands, 2012, pp. 17-66.
UNESCO (2020). Education in a post-COVID world: Nine ideas for public action. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564, จาก
https://en.unesco.org/sites/default/files/education_in_a_post-covid_world-nine_ideas_for_public_action.pdf.