การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว รายวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 Development of Mathematics Skill Exercise on Linear Inequality of One Variable Mathematics to Develop Achievement for Matthayom 3 Students.
Main Article Content
บทคัดย่อ
แบบฝึกทักษะเป็นนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนได้ฝึกทักษะของตนให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น มีความชำนาญและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ ตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบฝึกทักษะ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบ t – test
ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.78/82.24 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 และ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้แบบฝึกทักษที่ะมีค่าเฉลี่ย 16.76 คะแนน สูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกทักษะที่มีค่าเฉลี่ย 12.21 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้แบบฝึกทักษะ ร้อยละ 83.82 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
จิระพันธุ์ ปากวิเศษ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องการคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชฎาพร ภูกองชัย. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารโครงการงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(2), 93-101.
ณัฐจรินทร์ แพทย์สูงเนิน และชนกกานต์ สหัสทัศน์. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 2(1), 1-11.
ทองประกาย ณ ถลาง. (2562). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เชิงสถานการณ์เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยม ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT. โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์. ภูเก็ต: สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต.
ประภาศิริ ปราโมทย์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบมือควบคู่กับเกม เพื่อส่งเสริมผลการเรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ประภาศิริ ปราโมทย์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบมือควบคู่กับเกม เพื่อส่งเสริมผลการเรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ปราณี ฟองทอง. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 ในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน. (สาขาวิชาพื้นฐานทั่วไป). วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ.
ปิยฉัตร ศรีสุราช. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านเขาสมิง จังหวัดตราด. (ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
พัชรินทร์ ทิตะยา. (2562). การพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ TAI ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วิจิตตรา ปะทะขีนัง. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง จำนวนเต็ม โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนโคกกระท้อนกิตติวุฒิวิทยา. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุพิชฌาย์ ใบยา. (2562). การพัฒนาผลการเรียนรู้การคูณทศนิยมโดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. โรงเรียนบ้านปากคลองโรงนาค. ชลบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2.
สุริยา อินวิเชียร. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Larey, D. R. (1978). Effect of feedback on individuality. Dissertation Abstract International, 36(online), 817-A.